Page 15 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           3-2





                  และเจ้าหน้าที่ที่จะทําหน้าที่บริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  แต่อย่างไรก็ตาม พบว่า ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัจจัยทั้ง 3 ด้านที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ นั้น มีความแตกต่างกัน

                  โดยในบางพื้นที่มีความพร้อมสําหรับการพัฒนา เช่น พื้นที่มีความเหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานเอื้ออํานวย
                  สินค้าหลักในพื้นที่มีราคาดี มีตลาดรองรับ มีบุคลากรทั้ง Smart Farmer และ Smart Officer ที่มีความพร้อม

                  ในการบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าเกษตรต่างๆ ในพื้นที่นั้น เป็นต้น

                  แต่ในบางพื้นที่อยู่ในเขตยังขาดความพร้อมในบางเรื่อง หรือมีปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขก่อน การพัฒนาในแต่ละ

                  พื้นที่ถึงไม่สามารถใช้รูปแบบ วิธีการเหมือนกันได้ หน่วยงานในพื้นที่และคณะกรรมการระดับจังหวัด
                  จะต้องกําหนดมาตรการ โครงการและกิจกรรมในการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้ าหมาย

                  พื้นที่และสินค้าโดยคํานึงถึงข้อมูลข้อเท็จจริงจากปัจจัยทั้ง 3 ด้านที่ดําเนินการสํารวจ รวบรวม ตรวจสอบ

                  ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาแล้วเป็นสําคัญ

                        สําหรับชนิดของข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบสําคัญในปัจจัยหลักทั้ง 3 ด้าน ซึ่งหน่วยงานทั้งใน
                  ส่วนกลางและจังหวัดจําเป็นต้องทราบเพื่อนํามาพิจารณากําหนดแนวทางการพัฒนาหรือตัดสินใจในการ

                  แนะนําและส่งเสริมแก่เกษตรกรรมอย่างเหมาะสม มีรายละเอียดดังนี้ (รูปที่ 3-1)



                        Zoning =              Area +             Commodity +          Human Resources
                                        พื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม    อุปสงค์และอุปทาน    จํานวนเกษตรกร
                                        พื้นที่ชลประทาน     ราคาต้นทุนและผลตอบแทน   กลุ่มเป้าหมาย (Developing/
                                                             ความต้องการของแหล่ง   Existing/ต้นแบบ)

                                        การคมนาคมและโลจิสติกส์  แปรรูป/ตลาด      ความพร้อม/ศักยภาพ/ความสนใจ

                                        ที่ตั้งและโรงงานแปรรูป/ตลาด   ระยะเวลาการออกผลผลิต/    ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ
                   พื้นที่มีศักยภาพในการปลูก    ปัญหาและภัยพิบัติด้าน   ปฏิทินการเพาะปลูก   การประกอบอาชีพ
                     อ้อยโรงงาน (S1+S2)   การเกษตร           พื้นที่ปลูก & ผลผลิตต่อไร่    Smart Officer/Smart Officer  ต้นแบบ
                                        ปัญหาเกี่ยวกับสภาพดิน    ฤดูกาล และดิน ฟ้า อากาศ   เครื่องมือ & อุปกรณ์ทั่วไปสําหรับ
                                        ความเหมาะสมในการเขตกรรม   เทคโนโลยีการผลิต   Smart Officer

                                         ฯลฯ                โลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่    ระบบและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี
                                                            อุปทานภาคการเกษตร    สารสนเทศและการสื่อสารสําหรับ
                                                             ภาวะเศรษฐกิจ       Smart Officer
                                                             จํานวนประชากร & รสนิยม    การทํางานร่วมกับองค์กรเครือข่าย
                                                             ปริมาณและราคาสินค้า   ของ Smart Officer
                                                            ชนิดอื่นๆ ที่ทดแทนกันได้    - ฯลฯ
                                                             แนวโน้มปริมาณความต้องการ
                                                            สินค้าในต่างประเทศ
                                                             - ฯลฯ

                  รูปที่ 3-1  ข้อมูลและปัจจัยที่ควรพิจารณาในกรอบแนวคิด Zoning = Area + Commodity + HumanResource
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20