Page 7 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           1-2






                  2. วัตถุประสงค์

                   2.1 เพื่อให้เศรษฐกรใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ สามารถจัดทําข้อมูลแผนการ
                  ใช้ที่ดินก่อนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ

                   2.2  เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน สอดคล้องกับระดับ

                  ความเหมาะสมของที่ดิน


                  3. ขั้นตอนและวิธีการดําเนินงาน

                   3.1 ศึกษา สภาพปัญหา รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อนํามาทบทวนขั้นตอน รูปแบบ

                  การผลิต ประสิทธิภาพการผลิตของสินค้าเกษตรต่างๆ ในระดับความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินที่
                  แตกต่างกัน ซึ่งนักวิชาการเกษตรได้จัดระดับความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน เป็น 4 ระดับ ได้แก่

                                   S1    =    ระดับความเหมาะสมสูง

                                   S2 =       ระดับความเหมาะสมปานกลาง
                                   S3 =       ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย

                                   N     =    ไม่เหมาะสม

                     ในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ในชั้นแรกมีเป้ าประสงค์ที่จะส่งเสริมการผลิต

                  สินค้าเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ลดต้นทุน
                  และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งมีหลักการบริหารจัดการอยู่ 2 แนวทาง ตามประกาศเขตความเหมาะสม

                  สําหรับพืชเศรษฐกิจของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวคือ ในพื้นที่เป้ าหมายที่มีความเหมาะสมสูง

                  กับมีความเหมาะสมปานกลาง (S1 และ S2) จะส่งเสริมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนในพื้นที่
                  เป้าหมายที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสม (S3 และ N) จะพิจารณาปรับเปลี่ยนสินค้าเกษตร

                   3.2 การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) กรณีเป็นการผลิตสินค้าเกษตรเฉพาะพื้นที่ หรือ ต้องการ

                  ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เศรษฐกรจะต้องใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกร เป้ าหมายในด้านต้นทุน

                  และผลตอบแทนของการผลิตพืช โดยจําแนกกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างออกเป็น กลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง
                  ในพื้นที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                  กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) และกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างในพื้นที่

                  ไม่เหมาะสม (N)
                   3.3 วิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน รูปแบบการผลิต โดยวิเคราะห์ในรูปค่าเฉลี่ยต่อพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่

                  ประกอบด้วย สภาพการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนในการผลิต ซึ่งจะวิเคราะห์แยกตามชนิดพืชและ

                  ระดับความเหมาะสมของดิน
                                ต้นทุนทั้งหมด =  ต้นทุนผันแปร  +  ต้นทุนคงที่
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12