Page 6 - แนวทางการบริหารจัดการเขตการใช้ที่ดินสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม(Zoning)ในส่วนของเศรษฐกร
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
บทที่ 1
บทนํา
1. หลักการและเหตุผล
ตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการ
ทํางานร่วมกันใน 6 เรื่อง ได้แก่ การลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันสินค้าเกษตร การบริหาร
จัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ ศูนย์เรียนรู้
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และธนาคารสินค้าเกษตร โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ (Single command) เพื่อเป็นกลไก
ในการขับเคลื่อนนโยบายระดับพื้นที่ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้รับมอบหมายให้เป็นคณะทํางานและ
เลขานุการของคณะทํางานบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนการบริหาร
จัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) เป็นรูปธรรมเห็นผลชัดเจนในระดับพื้นที่ ซึ่งในกระบวนการดําเนินการ
ขับเคลื่อนดังกล่าวจําเป็นต้องมีแผนที่เขตความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อใช้ในการ
ขับเคลื่อนการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นฐานข้อมูลสําหรับการดําเนินการในระบบการ
ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์
ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและเป็นแหล่งให้เกษตรกรเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน จนสามารถ
นําองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนําไปสู่มาตรการบริหารจัดการ
พื้นที่เกษตรกรรม หรือ Zoning ซึ่งเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่
ให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยแนวทาง
ในการปฏิบัติ คือ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ที่มีศักยภาพ (S1 และ S2) และปรับเปลี่ยนการผลิต
สินค้าเกษตรในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
ดังนั้น เพื่อให้เศรษฐกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งจะต้องเป็นผู้นํานโยบายดังกล่าวไป
บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้สามารถดําเนินการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสําเร็จ
และมีความต่อเนื่องในการนําไปปฏิบัติ จึงจําเป็นต้องมีการเรียบเรียงขั้นตอนและแนวทางในการบริหาร
จัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) แล้วนํามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นองค์ความรู้ เพื่อให้เศรษฐกรและ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ใช้เปรียบเทียบรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่มีศักยภาพ (S1 และ
S2) กับพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) เพื่อใช้เป็นทางเลือกให้เกษตรกรตัดสินใจในการผลิต
สินค้าเกษตรในอนาคต ซึ่งจะทําให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด สามารถยกระดับรายได้ให้แก่
เกษตรกรให้สูงขึ้น