Page 216 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 216

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             6-2





                            6.1.1  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ
                              -  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                              -  เป็นพื้นที่นาข้าวในปัจจุบัน
                              -  เป็นพื้นที่มีความเหมาะสมของที่ดินสําหรับข้าวในระดับสูงถึงปานกลาง (S1-S2)

                      อยู่ในเขตชลประทาน

                            6.1.2 เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II)  หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ
                              -  เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                              -  เป็นพื้นที่นาข้าวในปัจจุบัน
                              -  เป็นพื้นที่มีความเหมาะสมของที่ดินสําหรับข้าวในระดับสูงถึงปานกลาง (S1-S2) อยู่

                      นอกเขตชลประทาน (นํ้าฝน)

                            6.1.3  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) หลักเกณฑ์และปัจจัยพิจารณา คือ
                              - เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

                              -  เป็นพื้นที่นาข้าวในปัจจุบัน

                              -  เป็นพื้นที่มีความเหมาะสมของที่ดินสําหรับข้าวในระดับเล็กน้อย (S3)  อยู่นอกเขต
                      ชลประทาน (นํ้าฝน)


                      6.2  เขตการใช้ที่ดินสําหรับปลูกข้าว
                            จากหลักเกณฑ์การกําหนดเขตการใช้ที่ดินสําหรับปลูกข้าวในภาพรวมข้างต้นได้ทําการวิเคราะห์

                      ข้อมูลทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ในพื้นที่นาข้าวทั้งประเทศได้เนื้อที่รวม 72,600,189 ไร่ โดยมี

                      รายละเอียดดังนี้ (ตารางที่6-1 ถึงตารางที่ 6-2 และรูปที่6-1ถึง รูปที่6-6)
                            6.2.1  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)

                                 มีเนื้อที่ 15,229,024 ไร่หรือร้อยละ 20.98 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน ผลผลิตคาดการณ์

                      ประมาณ 10.58 ล้านตัน แบ่งเป็น
                                 ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 3,935,913 ไร่หรือร้อยละ 5.42 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด

                      กําแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ และสุโขทัย
                                 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 2,706,970 ไร่หรือร้อยละ 3.73 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่

                      ในจังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ และสกลนคร
                                 ภาคกลาง มีเนื้อที่ 6,700,947 ไร่หรือร้อยละ 9.23 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด

                      พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ชัยนาท ลพบุรี และนครนายก
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221