Page 169 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 169

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-109






                      หน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศรับรองพันธุ์ว่าเป็นข้าวหอม
                      โดยมาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยและไม่ครอบคลุมข้าวที่เติมวิตามิน ได้มี

                      การแบ่งกลุ่มข้าวหอมออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้(ราชกิจจานุเบกษา, 2551ก)
                                 (1) ข้าวหอมประเภทนุ่ม แป้งของข้าวขาวมีปริมาณอมิโลสตํ่า เมื่อหุงสุกเป็นข้าว

                      สวยแล้วเมล็ดจะอ่อนนุ่มและค่อนข้างเหนียว ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี1   หอมคลองหลวง 1
                      หอมสุพรรณบุรี หอมพิษณุโลก 1 และ กข33 (หอมอุบล 80)

                                 (2)ข้าวหอมประเภทร่วน แป้ งของข้าวขาวมีปริมาณอมิโลสปานกลาง

                      เมื่อหุงสุกเป็นข้าวสวยแล้วเมล็ดจะร่วนและค่อนข้างนุ่ม ได้แก่ พันธุ์นางมล เอส-4 และดอกพะยอม
                                 (3) ข้าวหอมประเภทแข็ง แป้ งของข้าวขาวมีปริมาณอมิโลสสูง เมื่อหุงสุกเป็น

                      ข้าวสวยแล้วเมล็ดข้าวจะร่วนและแข็ง ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 60  และชัยนาท 2
                                 (4)ข้าวเหนียวหอม เมื่อนึ่งสุกเมล็ดข้าวจะเหนียวและจับติดกัน ได้แก่ พันธุ์ กข

                      6 สกลนคร ขาวโป่งไคร้ และ อาร์258
                                - มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4401-2551  เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                      สําหรับข้าว(good agricultural practices  for rice)  เพื่อให้สินค้าข้าวของประเทศไทยมีมาตรฐาน ทั้ง
                      ด้านคุณภาพและความปลอดภัย สร้างความเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและการค้า ระหว่าง

                      ประเทศ เพื่อเป็นแนวทางสําหรับเกษตรกรในการเพาะปลูกข้าวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ให้
                      ถูกต้องเหมาะสม และใช้เป็นเกณฑ์สําหรับการให้การรับรองระบบการผลิตระดับฟาร์มให้เป็นที่

                      ยอมรับในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค รวมทั้ง

                      ส่งเสริมการส่งออก (ราชกิจจานุเบกษา, 2551ข)
                                - มาตรฐานสินค้าเกษตร มกอช. 4400-2552  เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                      สําหรับข้าวหอมมะลิไทย (good agricultural practices for thaihommali rice) มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้

                      ครอบคลุมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับการผลิตข้าวหอมมะลิไทย ในทุกขั้นตอนการผลิตที่

                      ดําเนินการโดยเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลิตผลข้าวเปลือก ทั้งข้าวเปลือกหอมมะลิสดและข้าวเปลือก
                      หอมมะลิแห้งที่ปลอดภัยและมีคุณภาพโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพ

                      ของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่ครอบคลุมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับข้าวชนิดอื่นๆ ซึ่งกําหนดแยกไว้
                      ต่างหากตาม มกษ. 4401  มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับข้าว

                      (ราชกิจจานุเบกษา, 2552)
                                - มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000  เล่ม 4-2553  เรื่อง เกษตรอินทรีย์เล่ม 4  :

                      ข้าวอินทรีย์ (organicagriculture part 4 : organic rice)  เนื่องจากปัจจุบันสินค้าเกษตรอินทรีย์
                      โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์เป็นสินค้าที่มีความสําคัญทั้งด้านการผลิตและการตลาด โดยได้ประกาศ
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174