Page 166 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 166

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-106






                              3)  ข้าวที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                                เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายที่จะให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

                      เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อ
                      การพัฒนาด้านการค้าของประเทศต่อไป ทั้งนี้โดยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จะช่วยกระตุ้นให้

                      ผู้ผลิตในท้องถิ่นมีความต้องการที่จะเสริมสร้างและรักษาภาพพจน์ในสินค้าที่ผลิต จากท้องถิ่นของตน
                      และยังเป็นการป้ องกันไม่ให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า โดยกําหนดให้
                      มีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สําหรับสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์และห้ามการใช้สิ่งบ่งชี้

                      ทางภูมิศาสตร์อันจะทําให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์อันแท้จริงของสินค้าที่ระบุใน
                      ทะเบียน ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้แล้ว (ประกาศราชกิจจานุเบกษาปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครอง

                      สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546  ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 120  ตอนที่108ก วันที่31  ตุลาคม 2546)
                      โดยมีผลใช้บังคับในวันที่28 เมษายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
                                 ลักษณะสําคัญของสินค้าบ่ง ชี้ทางภูมิศาสตร์สรุปได้ดังนี้

                                (1)เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง
                                (2) มีความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์

                                (3) สินค้ามีเอกลักษณ์พิเศษ แตกต่างจากสินค้าเดียวกัน
                                (4) ผู้บริโภคมั่นใจและพึงพอใจที่จะซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกัน
                      ที่ผลิตจากที่อื่น

                                 ประโยชน์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                                (1) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

                                (2) เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตและป้องกันการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
                                (3) เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้ผู้ผลิตและเป็นเครื่องมือทางการตลาด

                                (4) เพื่อให้มีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้า
                                (5) เพื่อช่วยกระจายรายได้สู่ชนบทและส่งเสริมอุตสาหกรรม

                                (6) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
                      ข้าวที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ ข้าว GI (Geographical Indications: GI) คือ ชื่อ หรือเครื่องหมายใดๆ
                      ที่ใช้กับแหล่งผลิตกําเนิดของสินค้า มีความเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานแล้วในประเทศไทย

                      โดยมีกรมการข้าวและสํานักงานจังหวัดที่ขอขึ้นทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังตารางที่ 3-23

                      ซึ่งข้าว GI   ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว ได้แก่ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
                      ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์

                      ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร และข้าวกํ่าล้านนา มีรายละเอียดดังนี้
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171