Page 164 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 164

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-104






                                -  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตอาหารโดยให้ความสําคัญ
                      กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ทั้งในระดับครัวเรือน

                      ระดับชุมชน ระดับประเทศอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ
                                -  สร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคอนุภูมิภาคและระหว่างประเทศ ด้วย

                      การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการในกรอบอาเซียน กลุ่มอาเซียนบวกสาม (ประเทศจีน
                      ญี่ปุ่น และเกาหลี)  และอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงโดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านในการผลิตการตลาด

                      การวิจัยพัฒนาสินค้าเกษตรที่เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี

                                   ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุลและยั่งยืน
                                - พัฒนาแหล่งนํ้า เพิ่มปริมาณเก็บกักนํ้า และขยายพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่

                      ที่มีศักยภาพเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกบริหารจัดการนํ้าให้สูงขึ้นเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ
                      เกษตรกร และชุมชนในกระบวนการพัฒนาแหล่งนํ้าและบริหารจัดการนํ้าทุกระดับอย่างบูรณาการ

                      สนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดเล็กในไร่นา สามารถเก็บนํ้าเพื่อการเกษตรและอุปโภค
                      บริโภคได้อย่างพอเพียง เพื่อสร้างความมั่นคงและปัจจัยพื้นฐานในการผลิตของเกษตรกรและชุมชน

                      ตลอดจนผลักดันให้เกิดการดําเนินงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องใน
                      การบริหารจัดการนํ้าอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณนํ้าในพื้นที่

                      เกษตรกรรมและพื้นที่แหล่งกักเก็บนํ้า รวมถึงวางระบบการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ
                                -          บริหารการจัดที่ดินทํากินให้เกษตรกร เร่งรัดการฟื้ นฟูอนุรักษ์และปรับปรุง

                      คุณภาพดินเพื่อการเกษตร รวมถึงการพัฒนาระบบคุ้มครองที่ดินเพื่อการเกษตรให้เกษตรกรรายย่อย

                      มีที่ดินเป็นของตนเอง
                                 2)  ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ฉบับที่ 2 ปี 2555-2559

                                จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มียุทธศาสตร์ข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาข้าวอย่างเป็น
                      ระบบ ทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบการผลิต การตลาด

                      การค้าข้าว ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างยั่งยืน กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                      ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องระดมความคิดและแนวทางการพัฒนาข้าวไทย

                      ได้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ระยะเวลา 5  ปี (พ.ศ. 2550-2554)  ซึ่งปัจจุบันหมดอายุไปแล้ว ดังนั้นจึงได้มีการ
                      ร่างยุทธศาสตร์ข้าวไทย ฉบับที่ 2  ปี 2555-2559  ขึ้น โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                      (กรมการข้าว, 2556ก) มีประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการผลิตเกี่ยวกับการพัฒนาการผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์
                      ซึ่งมีเป้ าประสงค์ให้ชาวนา และผู้ประกอบการสามารถผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวได้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ

                      คุณภาพ และมูลค่า ด้วยต้นทุน การผลิตที่ตํ่าลง โดยมีเป้าหมายและกลยุทธ์ดังนี้
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169