Page 161 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 161

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-101






                                (6)  มีการกํากับดูแล ติดตามตรวจสอบทั้งระบบตลอดโครงการทุกขั้นตอนเพื่อให้
                      เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด

                                 มาตรการการรับจํานําข้าวเปลือก ปีการผลิต 2555/56

                                 ราคารับจํานําข้าวเปลือก ปี  2555/56 (ที่ระดับความชื้นไม่เกิน 15   เปอร์เซ็นต์)
                      แบ่งชนิดข้าวออกเป็นข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ข้าวเปลือกปทุมธานี 1  ข้าวเปลือก
                      เหนียว 10 เปอร์เซ็นต์เมล็ดยาว ข้าวเปลือกเหนียว 10 เปอร์เซ็นต์เมล็ดสั้น ข้าวเปลือกเจ้า 100 เปอร์เซ็นต์

                      ข้าวเปลือกเจ้า 5 เปอร์เซ็นต์ ข้าวเปลือกเจ้า 10 เปอร์เซ็นต์ ข้าวเปลือกเจ้า 15 เปอร์เซ็นต์ และข้าวเปลือกเจ้า

                      25  เปอร์เซ็นต์โดยการรับจํานําข้าวเปลือกประกอบด้วย การจํานําใบประทวน และการจํานํายุ้งฉาง
                      สําหรับการรับจํานําข้าวเปลือก ปี การผลิต 2555/56  มีการรับจํานํา 2 รอบ โดยมีระยะเวลาการรับจํานํา

                      ตั้งแต่ 1  ตุลาคม 2555  ถึง 15  กันยายน 2556  แบ่งพื้นที่การรับจํานํา ออกเป็นภาคเหนือ ภาค
                      ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีโรงสีที่เปิดรับฝากรวม 862  โรง และจุดรับนอกพื้นที่รวม

                      621  จุด การรับจํานําใบประทวนโดย อคส./อ.ต.ก. ออกใบประทวนรวม 3,016,611  ใบ ส่วนการรับ
                      จํานํายุ้งฉางโดย ธ.ก.ส.รวม 14,571 ราย ปริมาณการรับจํานําข้าวเปลือก รวมทั้งประเทศได้ 21.53 ล้านตัน

                      แยกตามชนิดข้าวเปลือก ได้ดังนี้ ข้าวเปลือกหอมมะลิรวม 3.40  ล้านตัน ข้าวเปลือกหอมจังหวัดรวม
                      0.49 ล้านตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 1  รวม 0.07  ล้านตัน ข้าวเปลือกเหนียว รวม 0.93  ล้านตัน

                      ข้าวเปลือกเจ้ารวม 16.64 ล้านตัน หรือแยกตามหน่วยงานที่รับจํานํา ได้ดังนี้ อคส. รวม 17.68 ล้านตัน
                      อ.ต.ก.  รวม 3.77  ล้านตัน  และ ธ.ก.ส.  รวม 0.08 ล้านตัน ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วาง

                      มาตรการที่จะกํากับดูแลไม่ให้เกษตรกร มีการสวมสิทธิ์และนําข้าวที่ปลูกจากพันธุ์ตามที่ประกาศมาเข้า

                      ร่วมโครงการเพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ ของคุณภาพข้าวที่รับจํานําและพัฒนาคุณภาพข้าวของ
                      เกษตรกรให้มีคุณภาพดีขึ้น ตลอดจนเป็นการพัฒนาคุณภาพผลผลิตข้าวโดยรวมของประเทศไทยรวมถึง

                      ได้มีมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ที่กําหนดเงื่อนไขไม่ให้เกษตรกรนําข้าวเปลือกที่ปลูกจาก
                      พันธุ์ที่มีอายุตํ่ากว่า 110 วัน ที่มีคุณภาพตํ่า เข้าร่วมโครงการ ตามที่กรมการข้าวประกาศโดยมีผลในโครงการ

                      รับจํานําข้าวเปลือก ตั้งแต่ปี 2555/56  ครั้งที่ 2  เป็นต้นไป โดยมีรายชื่อพันธุ์ข้าว ดังนี้ 1)  75  หรือ บีพี75
                      2) ซี-75 3) ราชินี 4) พวงทอง 5) พวงเงิน 6) พวงเงินพวงทอง 7) พวงแก้ว 8) ขาวปทุม 9) สามพราน 1

                      10) 039  หรือ เจ้าพระยาหรือPSLC02001-240 11)  โพธิ์ทอง 12)  ขาวคลองหลวง 13)  มาเลเซีย
                      14) เตี้ยมาเล  15) ขาวมาเล 16) มาเลแดง 17) เบตง และ 18) อีแล็ป หรือ อีเล็ป (กรมการข้าว, 2556ก)
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166