Page 9 - การใช้น้ำหมักชีวภาพควบคุมแมลงศุตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน










                       ชื่อโครงการ          การใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช พด.7 ในการควบคุมหนอนชอน
                                            ใต้ผิวเปลือกลองกองเพื่อผลิตลองกอง
                                            Effective of Bio-extract LDD.7 for control Longkong Bark Eating
                                            Caterpillar (Microchlora sp) on Longkong.

                       ทะเบียนวิจัยเลขที่   56  56  13  12  04000  025  160  04  11
                       กลุ่มชุดดินที่       กลุ่มชุดดินที่ 32 ชุดดินตาขุน (Tha Khun series: Tkn)
                       ผู้ด าเนินการ        นายพิสุทธิ์ พูลสวัสดิ์   Mr.Phisut  Phunsawat


                                                            บทคัดย่อ

                              ศึกษาการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืชในการควบคุมหนอนชอนใต้ผิวเปลือก
                       ลองกองเพื่อลดการใช้สารเคมี ด้าเนินการในแปลงลองกองของเกษตรกร หมู่ 4 ต้าบลนาใต้ อ้าเภอ
                       บ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มด้าเนินการ เดือนตุลาคม 2255  สิ้นสุดโครงการ เดือนกันยายน
                       2556  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้น้้าหมักชีวภาพควบคุมแมลงศัตรูพืช พด.7 ในการควบคุม

                       หนอนชอนใต้ผิวเปลือกลองกอง ตลอดจนสมบัติดิน และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ วางแผนการ
                       ทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จ้านวน 4 วิธีการทดลอง วิธีการละ
                       5  ซ้้า ได้แก่ วิธีการที่ 1 แปลงควบคุม วิธีการที่ 2 พ่นด้วยสารคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20
                       ลิตร วิธีการที่ 3  พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืช พด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7

                       วัน และวิธีการที่ 4 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืช พด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก
                       14 วัน ท้าการเก็บข้อมูลดิน พบว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองทุกวิธีการดินมีค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น
                       ปริมาณอินทรียวัตถุในวิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืช พด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มี

                       การระบาดทุก 7 วัน และวิธีการที่ 4 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืช พด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่
                       มีการระบาดทุก 14 วัน ซึ่งใช้สารไล่แมลงจาก พด. 7 มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ปริมาณฟอสฟอรัส
                       ที่เป็นประโยชน์ของดินอยู่ในระดับสูงมาก ปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้ของดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นใน
                       วิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน
                       ปริมาณผลผลิตพบว่า วิธีการที่  3  พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มี

                       การระบาดทุก 7 วัน มีปริมาณผลผลิตลองกองเกรด A มากที่สุดเท่ากับ 569 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่
                       1 แปลงควบคุม มีปริมาณผลผลิตเกรด  B, C  และ เกรดต่้า มากที่สุดเท่ากับ 416,  202  และ 50
                       กิโลกรัมต่อไร่ ตามล้าดับ เปอร์เซ็นต์การท้าลายของศัตรูลองกองในวิธีการที่ 2  ฉีดพ่นด้วยคลอไพริ

                       ฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร พบเปอร์เซ็นต์รอยแผลน้อยที่สุด ส้าหรับผลตอบแทนทาง
                       เศรษฐกิจพบว่า วิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร มีต้นทุนการผลิต
                       สูงที่สุดเท่ากับ 29,543 บาทต่อไร่ และวิธีการที่ 1 แปลงควบคุม มีต้นทุนการผลิตต่้าสุดเท่ากับ 9,121
                       บาทต่อไร่ ส้าหรับรายได้สุทธิพบว่า วิธีการที่ 3 พ่นด้วยสารป้องกันแมลงศัตรูพืชพด.7 (บอระเพ็ด) พ่น

                       บริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุดเท่ากับ 18,031 บาทต่อไร่ และ
                       วิธีการที่ 2 ฉีดพ่นด้วยคลอไพริฟอส อัตรา 120 ซีซีต่อน้้า 20 ลิตร มีรายได้สุทธิต่้าที่สุดเท่ากับ -163
                       บาทต่อไร่ ฉะนั้นควรแนะน้าการจัดการสวนลองกองกับเกษตรกรตามวิธีที่ 3 คือ พ่นด้วยสารป้องกัน
                       แมลงศัตรูพืช พด.7 (บอระเพ็ด) พ่นบริเวณที่มีการระบาดทุก 7 วัน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14