Page 140 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         103


               8. สรุปและข้อเสนอแนะ
                  จากการศึกษาการรวบรวมข้อมูลและส ารวจดินทรัพยากรดิน รวมถึงเก็บข้อมูลด้านต่างๆ ในภาคสนาม เพื่อน ามา

               วิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางการไข สามารถสรุปได้ดังนี้

                  8.1 พื นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดิน ลุ่มน  าน  าย่าง จังหวัดน่าน
                     พื้นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดิน ลุ่มน้ าน้ าย่าง จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ 133,138 ไร่ อยู่ในลุ่มน้ าย่อย

               ของลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าน่านส่วนที่ 2 ของลุ่มน้ าหลักแม่น้ าน่าน มีความสูงระหว่าง 216-1,813 เมตรจากระดับทะเล
               ปานกลาง สภาพภูมิประเทศประกอบด้วย ที่ราบ ที่ราบระหว่างเนิน เนินเขา ภูเขา และเทือกเขาสูงชัน มีความลาดชัน
               แบบราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบจนถึงพื้นที่สูงชัน และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชันเชิงซ้อน (ลาดชันมากกว่า 35
               เปอร์เซ็นต์) มีเนื้อที่รวม 68,380 ไร่ (ร้อยละ 51.36 ของพื้นที่)

                     ลักษณะของดิน ดินในที่ลุ่มจัดอยู่ในกลุ่มดินร่วน มีเนื้อที่ 16,473 ไร่ (ร้อยละ 12.37 ของพื้นที่)
               ประกอบด้วย กลุ่มดินร่วนเนื้อปานกลางลึกมาก มีเนื้อที่ 13,813 ไร่ (ร้อยละ 10.38 ของพื้นที่) และกลุ่มดินร่วน
               เนื้อละเอียดปานกลางลึกมาก มีเนื้อที่ 2,660 ไร่ (ร้อยละ 1.99 ของพื้นที่) ส่วนดินในที่ดอนจัดอยู่ในกลุ่มดินเหนียว
               และดินตื้น มีเนื้อที่ 43,802 ไร่ (ร้อยละ 32.90 ของพื้นที่) ประกอบด้วย กลุ่มดินเหนียวลึกปานกลาง มีเนื้อที่

               32,653 ไร่ (ร้อยละ 24.52 ของพื้นที่) และกลุ่มดินเหนียวปนเศษหิน เนื้อที่ 11,149 ไร่ (ร้อยละ 8.38 ของพื้นที่)
                     ด้านศักยภาพของดิน ดินในพื้นที่ลุ่มส่วนใหญ่ เหมาะสมดีและเหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกข้าว
               มีข้อจ ากัดเรื่องเนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย และอันตรายจากการถูกน้ าท่วม มีเนื้อที่ 16,473 ไร่

               (ร้อยละ 12.37 ของพื้นที่) ส่วนดินในพื้นที่ดอนเหมาะสมดีมากส าหรับปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ มันส าปะหลัง ยางพารา
               มะม่วง มะขาม ส้ม ลิ้นจี่ และล าไย มีเนื้อที่ 26,378 ไร่ (ร้อยละ 19.81 ของพื้นที่) เหมาะสมดีและเหมาะสมปาน
               กลางส าหรับปลูกปลูกข้าวโพด และมันส าปะหลัง มีข้อจ ากัดเรื่องความเสี่ยงต่อการขาดน้ า ความลึกที่พบชั้นหินพื้น
               และสภาพพื้นที่ มีเนื้อที่ 24,627 ไร่ (ร้อยละ 18.50 ของพื้นที่) เหมาะสมปานกลางส าหรับปลูกข้าวโพด
               มันส าปะหลัง ปาล์มน้ ามัน ลิ้นจี่ มีเนื้อที่ 12,057 ไร่ (ร้อยละ 9.06 ของพื้นที่)

                        ปัญหาทรัพยากรดิน ได้แก่ ปัญหาดินในพื้นที่ลุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ าท่วมขังฉับพลัน เนื่องจากเป็นบริเวณ
               พื้นที่ลุ่มต่ าเป็นแหล่งรวมน้ า และทางระบายน้ าของพื้นที่ ท าให้น้ าในบริเวณดังนี่ไหลอย่างรวดเร็วส่งผลให้พืชที่ปลูก
               เกิดความเสียหายได้ มีเนื้อที่ 5,448 ไร่ (ร้อยละ 4.09 ของพื้นที่) ปัญหาดินตื้นถึงชั้นหินพื้น เนื่องจากพบชั้นหินพื้นที่

               ระดับความลึก 25-50 เซนติเมตร ซึ่งชั้นนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชในดินชั้นล่างเพื่อหาแร่ธาตุ
               อาหารและน้ า มีเนื้อที่ 11,150 ไร่ (ร้อยละ 8.38 ของพื้นที่) ปัญหาดินบนพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นบริเวณพื้นที่
               ลาดชันเชิงซ้อนในพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ไม่เหมาะที่จะน ามาใช้ท าการเกษตร
               เพราะหากมีการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชไม่ถูกต้องจะเกิดปัญหาการกร่อนดินและการเสื่อมโทรมของดินอย่างรวดเร็ว

               มีเนื้อที่ 68,380 ไร่ (ร้อยละ 51.36 ของพื้นที่) และบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับศักยภาพของดิน
               กล่าวคือลักษณะของดินมีความเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แต่พื้นที่นั้นได้ถูกดัดแปลงมาใช้ท านา
               โดยท าคันดินเพื่อกักเก็บน้ า เนื่องจากเกษตรกรต้องการปลูกข้าวไว้เพื่อบริโภค จึงดัดแปลงพื้นที่ดังกล่าวที่เป็นพื้นที่
               ดอนมาใช้ปลูกข้าว โดยทั่วไปสภาพพื้นที่นี้ไม่สามารถกักเก็บน้ าได้เนื่องจากเป็นดินมีการระบายน้ าดี จึงต้องมีการท า

               คันนา แต่ดินจะมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดน้ าในฤดูเพาะปลูก ท าให้ได้ผลผลิตของข้าวไม่มากเมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่
               นั้นใช้ปลูกพืชที่เหมาะสมตามศักยภาพของดิน มีเนื้อที่ 2,254 ไร่ (ร้อยละ 1.69 ของพื้นที่)
                     ในการคัดเลือกพื้นที่รองรับประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้ลักษณะและสมบัติของดินที่ได้จากการ
               ส ารวจดินร่วมกับการประเมินอัตราการกร่อนดินพบว่า พื้นที่ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ที่มี

               การท าการเกษตรที่มีความเสี่ยงต่อการกร่อนดินสูง (มีอัตราการกร่อนดินมากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี) และมีแนวโน้มว่ามี
               ความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในอนาคต เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรอย่างเข้มข้นและยาวนาน
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145