Page 143 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         106


                           (3) เลือกดินตัวแทนในภาคสนามและขุดหลุมดินขนาด 50x50x50 เซนติเมตร และใช้สว่านเจาะลึก
               อย่างน้อย 200 เซนติเมตร พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการตรวจสอบดินภาคสนาม

                           (4) เก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ฟิสิกส์ และแร่
                        3) ปรับแก้แผนที่ดิน จัดท าแผนที่และรายงานการส ารวจดิน มาตราส่วน 1:4,000
                        4) ประเมินลักษณะและสมบัติของดินที่ได้จากการส ารวจและจ าแนกดิน เพื่อน าไปออกแบบระบบและ
               ด าเนินมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ในพื้นที่ประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ าต่อไป


                  8.4 ข้อเสนอแนะ
                     8.4.1 ในบริเวณที่เป็นพื้นที่เทือกเขาสูงและภูเขาสูงชันซึ่งยังไม่มีข้อมูลลักษณะและสมบัติของดิน เนื่องจาก
               การด าเนินงานของกรมพัฒนาที่ดินรวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ยังมีอยู่อย่างจ ากัด ท าให้การจ าแนกดินตามระบบ

               อนุกรมวิธานดินรวมทั้งการก าหนดชื่อชุดดินในพื้นที่ดังกล่าว จะไม่ตรงกับมโนคติกลางของลักษณะและสมบัติ
               ชุดดินที่ได้จัดตั้งและก าหนดไว้ตามเอกสารทางวิชาการ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการสื่อถึงลักษณะและสมบัติที่เด่นชัดของ
               ดินที่พบ จึงควรน าชื่อชุดดินที่จัดตั้งอยู่แล้วน ามาใช้กับดินที่พบในพื้นที่ โดยพิจารณาจากลักษณะและสมบัติของดิน
               ที่ส ารวจพบในพื้นที่ร่วมกับการก าหนดลักษณะและสมบัติของดินที่มีอยู่แล้ว (ชุดดินจัดตั้ง: Established Soil

               Series) ให้มีความใกล้เคียงกันมากที่สุด หรืออาจตั้งหน่วยดินขึ้นใหม่ (ชุดดินจัดตั้งใหม่: Tentative Soil Series)
               พร้อมทั้งก าหนดลักษณะและสมบัติของหน่วยดินนั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการถ่ายทอดข้อมูลดินต่อไปได้
                     8.4.2 ควรเร่งด าเนินการก าหนดระเบียบและมาตรการด าเนินงานที่ช่วยสนับสนุนให้สามารถด าเนินการ

               ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ด าเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ
               พัฒนาที่ดินเพื่อน าร่องในจังหวัดที่มีปัญหาการกร่อนดิน เพื่อระดมความคิดจากหน่วยงานภายนอก และด าเนินการ
               ประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า หากมีพื้นที่เกิดการกร่อนดินในระดับวิกฤต และคณะกรรมการมีมติเห็นชอบ
                     8.4.3 ควรมีการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมจัดท าบัตรประจ าตัวเจ้าหน้าที่ตามที่ก าหนดใน
               พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 เพื่อการปฏิบัติงานในพื้นที่
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148