Page 139 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 139

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         102


                     7.2.6 ปัญหาทรัพยากรดิน แนวทางแก้ไข และข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื นที่รองรับการ
               ประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน  า ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน

                        1) ปัญหาทรัพยากรดินและแนวทางแก้ไข
                        จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่รองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า
               ต าบลป่ากลาง อ าเภอปัว จังหวัดน่าน สามารถสรุปปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่แยกตามสภาพพื้นที่และคุณสมบัติ
               ของดิน พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้

                           (1) ปัญหาพื้นที่มีความลาดชันเสี่ยงต่อการกร่อนดิน ได้แก่ ทุกหน่วยแผนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               หน่วยแผนที่ Ws-clD/d3,E2 และ Ws-clE/d3,E2 มีเนื้อที่ 1,566 ไร่ หรือร้อยละ 54.40 ของพื้นที่
                           แนวทางแก้ไข : ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น ในพื้นที่ที่มความลาดชันน้อย ควรไถพรวน
               ขวางความลาดชัน ปลูกพืชเป็นแถบ ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวคันดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก ส่วนในพื้นที่ที่มีความ

               ลาดชันสูง ควรท าขั้นบันไดร่วมกับบ่อดักตะกอนและปลูกหญ้าแฝก
                           (2) ปัญหาดินลึกปานกลาง เนื่องจากพบชั้นหินพื้นที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งชั้นนี้
               จะเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชในดินชั้นล่างเพื่อหาแร่ธาตุอาหารและน้ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผล และ
               ไม้ยืนต้น หน่วยแผนที่ที่พบ ได้แก่ หน่วยแผนที่ Ws-clC/d3,E1 Ws-clD/d3,E1 Ws-clD/d3,E2 และ Ws-clE/d3,E2

               มีเนื้อที่ 2,167 ไร่ หรือร้อยละ 75.28 ของพื้นที่
                           แนวทางแก้ไข : เลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับดิน การจัดการดินเพื่อปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จะต้อง
               เตรียมหลุมปลูกขนาด 50X50X50 เซนติเมตร พร้อมปรับปรุงด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี

               ที่เหมาะสมส าหรับพืชแต่ละชนิด พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
               เช่น ในพื้นที่ที่มความลาดชันน้อย ควรไถพรวนขวางความลาดชัน ปลูกพืชเป็นแถบ ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวคันดิน
               ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก ส่วนในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ควรท าขั้นบันไดร่วมกับบ่อดักตะกอนและปลูกหญ้าแฝก
                           (3) ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ AC-mw,fl-lA/d5,E0 มีเนื้อที่ 119 ไร่
               หรือร้อยละ 4.13 ของพื้นที่

                           แนวทางแก้ไข : ควรเลือกชนิดพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียน
               ปรับปรุงด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมส าหรับพืชแต่ละชนิด พัฒนาแหล่งน้ าและ
               จัดระบบการให้น้ าในแปลงปลูก ปลูกพืชคลุมดิน ท าแนวคันดินร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก


                        2) ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                           (1) สภาพพื้นที่ด าเนินการส่วนใหญ่เป็นพื้นที่มีความลาดชัน ง่ายต่อการกร่อนดิน ควรมีการก าหนด
               รูปแบบอนุรักษ์ดินและน้ าควรให้สอดคล้องกับลักษณะดินและสภาพพื้นที่

                           (2) พื้นที่ดังกล่าวท าการเกษตรโดยอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ดินมีศักยภาพในการผลิตปานกลาง พื้นที่
               ส่วนใหญ่ท านาครั้งเดียว หรือปลูกพืชไร่ประเภทข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หากจะปลูกไม้ยืนต้นก็จะปลูกยางพาราเป็นหลัก
               ปัญหาหลักที่พบในเขตนี้ได้แก่ ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ าในช่วงฤดูแล้งและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ให้มีการ
               ปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอุ้มน้ าของ

               ดิน และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช อีกทั้งควรส่งเสริมให้ค าแนะน าแก่เกษตรกรปลูกพืชในช่วงเวลาที่มีความชื้น
               เหมาะสม และควรพิจารณาแหล่งน้ าขนาดเล็กในพื้นที่รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของแหล่งน้ า เช่น เหมือง ฝาย
               ให้สามารถกักเก็บน้ าได้ดีขึ้น
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144