Page 144 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 144

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         107


               9. วิจารณ์ผล
                  จากการส ารวจและจ าแนกดินตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 เพื่อประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า สรุป

               ได้ดังนี้
                  9.1 การคัดเลือกพื้นที่เพื่อประกาศเขตส ารวจที่ดิน ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 มาตรา 17
               ได้ก าหนดไว้ว่า ต้องใช้ข้อมูลจากการศึกษาความเสี่ยงต่อการกร่อนดินและเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ของกรมพัฒนาที่ดิน
               พ.ศ 2545 เท่านั้น แต่จากผลการด าเนินงาน โดยน าข้อมูลตามข้อก าหนดดังกล่าวมาใช้จะท าให้มีปัญหาด้านข้อมูล

               เกิดขึ้น เนื่องจากข้อมูลไม่มีความเป็นปัจจุบัน และไม่มีความละเอียดเพียงพอ จึงควรมีการแก้ไขบทบัญญัติบางประการ
               เพื่อให้สามารถใช้แผนที่ที่เป็นปัจจุบัน ท าให้การคัดเลือกมีความถูกต้องและแม่นย ามากขึ้น
                  9.2 จากหลักเกณฑ์ในการก าหนดพื้นที่ที่จะประกาศเป็นเขตส ารวจการอนุรักษ์ดินและน้ า ก าหนดว่าต้องไม่
               ทับซ้อนกับเขตสงวนหวงห้ามตามกฎหมายอื่น และจะด าเนินการต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้มีอ านาจตาม

               บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ แต่เนื่องจากพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง และมีความเสี่ยงต่อการกร่อนดินและเสี่ยงต่อ
               การเกิดดินถล่มบางบริเวณอยู่ในพื้นที่ป่า ท าให้ไม่สามารถด าเนินการในพื้นที่นั้นๆได้ และเมื่อไม่มีการด าเนินการให้
               ครอบคลุมทั่วบริเวณ ท าให้การลดหรือการแก้ไขปัญหาการกร่อนดินท าได้ไม่เต็มรูปแบบตามหลักวิธีกรมพัฒนาที่ดิน
               ก าหนด

                  9.3 จากการส ารวจและจ าแนกดิน ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ในครั้งนี้แล้ว จ าเป็นต้องน าไป
               เผยแพร่แก่เจ้าหน้าของรัฐโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินที่เป็นหน่วยงานหลัก ตอบข้อสงสัยที่ยัง
               ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับระเบียบและแนวทางการด าเนินงาน จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นทั้งเจ้าหน้าที่

               ของกรมพัฒนาที่ดินและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนแสดงความเห็นและตั้งประเด็นข้อสงสัยต่างๆ
               จนได้ข้อสรุปของแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการด าเนินการเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 ฉบับนี้

               10. ประโยชน์ที่ได้รับ
                  ผลที่ได้จากการการส ารวจดินและประเมินศักยภาพทรัพยากรดินในพื้นที่รองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดิน

               ลุ่มน้ าน้ าย่าง จังหวัดน่าน รวมถึงการส ารวจดิน จัดท าฐานข้อมูลทรัพยากรดินและแผนที่ดินในพื้นที่รองรับการ
               ประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า ลุ่มน้ าน้ าย่าง จังหวัดน่าน ท าให้ทราบถึงสภาพปัญหา ศักยภาพทรัพยากรธรรมชาติ
               ตลอดจนข้อมูลดินในรูปของแผนที่ดิน และรายงานการส ารวจดิน ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถน ามาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

                  10.1 เป็นฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดิน ส าหรับการรองรับการประกาศเขตส ารวจที่ดิน และการใช้ประโยชน์
               ที่ดินบนพื้นที่เสี่ยงต่อการกร่อนดิน รวมถึงโครงการอื่นๆ
                  10.2 เป็นแนวทางในการศึกษาขั้นตอนและวิธีการ ในสนับสนุนการด าเนินงานการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ า
               ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551

                  10.3 เป็นข้อมูลพื้นฐานส าหรับ ศึกษา ค้นคว้าวิจัย และทดลองต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรดินประโยชน์ที่ดิน
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148