Page 134 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 134

3-58





                  ระยะในการเพาะเลี้ยงอยู่ระหว่าง 90-120 วัน เริ่มเก็บผลผลิตกุ้งประมาณช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป

                  ผลผลิตเฉลี่ย 40-50 ตัว/กิโลกรัม

                               1.7) เงาะ เกษตรกรนิยมปลูกเงาะพันธุ์โรงเรียน พันธุ์สีชมพูและพันธุ์เงาะเจ๊ะมง เริ่ม
                  ปลูกในเดือนเมษายนโดยหลังจากที่ขุดดินหรือไถพรวนที่ดินแล้วควรขุดหลุมเป็นวงกลมกว้าง

                  ประมาณ 80 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร ปล่อยให้หลุมตากแดดไว้ประมาณ 6-7 วัน แล้วใช้หญ้าแห้ง

                  รองก้นหลุมบ้างเล็กน้อยหากจะมีปุ๋ยคอก เช่น มูลโค กระบือ ฯ หรือปุ๋ยดินฟอสเฟตใส่ให้บ้างรองก้นหลุม
                  ก็จะดียิ่งขึ้น จากนั้นก็ท้าการปลูกเงาะลงในหลุมระยะของการปลูกเงาะ จ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกให้

                  มีระยะปลูกห่างกันอย่างเพียงพอ ระยะที่ปลูกเงาะที่เหมาะสมควรจะเป็น 16 เมตร ทั้งระหว่างต้นและ

                  ระหว่างแถวหรืออย่างน้อยที่สุดก็ควรเป็น 12 เมตร เป็นอย่างต่้าที่สุด ดังนี้ ในเนื้อที่ 1 ไร่ ก็จะปลูก
                  เงาะได้ราว 9-16 ต้นเป็นอย่างมาก การดูแลบ้ารุงสวนเงาะควรท้าความสะอาดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งต้นเงาะ

                  อยู่เสมอ ควรปลูกพืชบ้ารุงดินดีกว่าปล่อยให้วัชพืชแย่งอาหารจากต้นเงาะ ใส่ปุ๋ยต้นเงาะปีละ 2 ครั้ง โดย

                  ใส่หลังจากเก็บผลเสร็จกับใส่ปุ๋ยตอนที่ต้นเงาะออกดอก การเก็บเกี่ยวเงาะจะเก็บในช่วงเดือนกรกฎาคม
                  เป็นต้นไป  ควรเก็บเมื่อผลเงาะที่สุกเต็มที่โดยการเก็บผลเงาะโดยใช้ไม้ไผ่ปลายติดขอเหล็กมีคม

                  กระชากให้ขั้วของผลเงาะขาดตกลงมายังพื้นดิน เมื่อเก็บผลเงาะมาแล้ว ก็ต้องตัดและแต่งขั้วของผล
                  เงาะให้มีขนาดสั้นลงอีกตามสมควร ผลผลิตเฉลี่ย 700-740 กิโลกรัม/ไร่

                             2)  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรชลประทาน สามารถคัดเลือกประเภทการ

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้

                              2.1) ข้าวนาปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี พันธุ์เข็มทอง มีการปลูก
                  แบบนาด้ามีการเตรียมดินเพื่อท้าแปลงกล้าเป็นระยะเวลา 30 วันในช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นท้า

                  การไถดะ  ไถแปร คราดเพื่อท้าเทือก และท้าการปักด้าในเดือนสิงหาคม มีการจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง
                  ครั้งแรกรองพื้นใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวงใช้

                  ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่  เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก

                  ผลผลิตประมาณ 350-450 กิโลกรัม/ไร่
                                2.2)  ยางพารา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกยางพาราสายพันธุ์ RRIM  600 ปลูก

                  ในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤษภาคม มีวิธีการปลูกแบบขุดหลุมปลูก หลุมมี

                  ขนาด 50x50x50  เซนติเมตร มีระยะระหว่างต้น 2.5 เมตร ระยะระหว่างแถว 7-8 เมตร มีปริมาณ

                  80-91 ต้น/ไร่ วิธีการดูแลรักษามีการใส่ปุ๋ยด้วยกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ต้นฤดูฝนประมาณเดือนเมษายนใส่
                  ปุ๋ยสูตร 16-11-14 ครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยสูตร 16-11-14 มีอัตราการใช้ต้นละ

                  ประมาณ 500-600 กรัม/ไร่ ยางพาราสามารถเปิดกรีดได้ เมื่ออายุประมาณ 7 ปี เปิดหน้ายางช่วงเดือน

                  ตุลาคมเป็นต้นไป นิยมใช้แรงงานคนเป็นหลักในการเก็บเกี่ยว ผลผลิตเฉลี่ย 200-300 กิโลกรัม/ไร่







                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139