Page 138 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 138

3-62





                                การเลือกคุณลักษณะที่ดินเพื่อใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมิน ความ

                  เหมาะสมที่ดินตามระบบ FAO  ก้าหนดในระบบไว้ 25 ชนิด ส้าหรับประเทศไทยใช้คุณลักษณะดิน

                  เพื่อใช้เป็นตัวแทนคุณภาพที่ดินในการประเมินความเหมาะสมที่ดิน 13 ชนิด โดยตัวแทนคุณภาพ
                  ที่ดินแต่ละตัวมีข้อจ้ากัดในการเลือกใช้จากปัจจัยด้าน 1) มีผลต่อพืช หรือประเภทการใช้ที่ดินนั้นๆ

                  2) พบค่าวิกฤตในพื้นที่ปลูกนั้นๆ 3) การรวบรวมข้อมูลต้องสามารถปฏิบัติได้จริงจากเงื่อนไขดังกล่าว

                  จ้าเป็นต้องจัดล้าดับความส้าคัญคุณภาพที่ดินก่อนที่จะน้ามาประเมินตามเงื่อนไขการคัดเลือกคุณภาพ

                  ที่ดิน
                              เมื่อท้าการจัดล้าดับความส้าคัญแล้วพบว่า เงื่อนไขหลักขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูล

                  คุณลักษณะที่ดิน ดังนั้นเมื่อน้ามาใช้ในการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของพืชต่างๆ ในเขต

                  ลุ่มน้้าสาขา จึงมีปัจจัยหลัก 7 ปัจจัย ที่น้ามาวิเคราะห์ ดังนี้
                                1)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (m)

                                2)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (o)
                               3)  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (s)

                               4)  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n)

                                5)  สภาวะการหยั่งลึกของราก (r)
                                6)  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (w)

                                7)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e)
                                  การจ้าแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดินได้จ้าแนกชั้นความเหมาะสมออกเป็น 4 ชั้น (Class)

                  และก้าหนดชั้นความเหมาะสมในแต่ละชั้นความเหมาะสมออกเป็นชั้นย่อย (Subclass) ตาม
                  ข้อจ้ากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลของพืชหลักตามประเภทการใช้ที่ดิน ทั้งนี้ ใช้วิธีการประเมินจาก
                  กลุ่มของคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจ้ากัดรุนแรงที่สุด ทั้งนี้ สามารถจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินได้ 4 ชั้น

                  คือ

                                   S1 : ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง
                                   S2 : ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง

                                   S3 : ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย

                                   N : ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม

                                  ผลจากการประเมินความเหมาะสมของที่ดินของลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง

                  สามารถจ้าแนกการจัดชั้นความเหมาะสมของที่ดินในระดับชั้นย่อย โดยแยกเป็นเขตเกษตรที่อาศัยน้้าฝน
                  (ตารางที่ 3-15) และเขตพื้นที่เกษตรน้้าฝนมีการใช้น้้าจากแหล่งน้้าตามธรรมชาติและแหล่งน้้าใต้ดินใน

                  การเพาะปลูกพืช (ตารางที่ 3-16)  มีรายละเอียดดังนี้








                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143