Page 132 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง
P. 132

3-56





                        3.1.4  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                             ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน หมายถึง ชนิดหรือระบบของการใช้ที่ดินที่กล่าวถึงชนิด

                  ของพืช ลักษณะการด้าเนินงานและสภาพการผลิตในการใช้ที่ดิน ทั้งทางด้านกายภาพและสภาพ

                  เศรษฐกิจสังคม ซึ่งได้แก่ รูปแบบการผลิตการเขตกรรมการจัดการเงินทุนและขนาดของกิจการ เป็นต้น
                  โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น

                            จากการส้ารวจภาคสนามในลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง พบว่า เกษตรกรท้า

                  การเกษตร โดยใช้น้้าฝนเป็นหลัก บางส่วนเป็นเขตชลประทานที่เกษตรกรสามารถท้าการเกษตรได้
                  ตลอดทั้งปีรวมถึงพื้นที่ลุ่มใกล้แม่น้้า หลังช่วงฤดูฝนจากการส้ารวจวิเคราะห์รวมกับข้อมูลดินและข้อมูลสภาพ

                  การใช้ที่ดิน สามารถคัดเลือกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินลุ่มน้้าสาขาภาคใต้ฝั่งตะวันตกตอนล่าง ใน

                  เขตน้้าฝน มีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 3-14)

                            1)  ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรน้ าฝน สามารถคัดเลือกประเภทการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินได้ ดังนี้

                                1.1) ข้าวนาปี เกษตรกรนิยมปลูกข้าวพันธุ์เล็บนกปัตตานี พันธุ์เข็มทอง มีการปลูกแบบ

                  นาด้า มีการเตรียมดินเพื่อท้าแปลงกล้าเป็นระยะเวลา 30 วันในช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นท้าการไถดะ
                  ไถแปร คราดเพื่อท้าเทือก และท้าการปักด้าในเดือนสิงหาคม มีการจัดการโดยใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกรองพื้น

                  ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยก่อนข้าวออกรวงใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0

                  อัตรา 15-20 กิโลกรัม/ไร่ เก็บเกี่ยวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลผลิตประมาณ
                  350-450 กิโลกรัม/ไร่

                                 1.2) ปาล์มน้ ามัน เกษตรกรนิยมปลูกปาล์มน้้ามันสายพันธุ์ ลูกผสม และพันธุ์พื้นเมือง โดย

                  ท้าการเพาะกล้า ให้ต้นกล้าที่ใช้ปลูกมีอายุที่เหมาะสมคือ 10 -12 เดือน แล้วน้ามาปลูกลงแปลงที่ท้าการ
                  เตรียมดินเรียบร้อยแล้ว ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 เซนติเมตร มีระยะ 9 เมตร

                  วิธีการขุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมไว้ประมาณ 10 วัน เริ่มปลูกช่วงฤดูฝน

                  เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน การปลูกซ่อม ควรท้าภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก การใส่ปุ๋ยให้
                  ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0)  อัตรา 250  กรัม/ต้น รองก้นหลุมตอนปลูก โดยใช้ดินชั้นบนผสมคลุกเคล้า

                  กับปุ๋ยหินฟอสเฟต ใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินชั้นล่าง เมื่อปาล์มน้้ามันอายุระหว่าง 1-4 ปี

                  ใส่ปุ๋ยภายในวงกลม (รัศมี 1.5-2 เมตร) บริเวณที่ก้าจัดวัชพืชรอบโคนต้น อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ย
                  ห่างจากโคนต้น 50 เซนติเมตร จนถึงบริเวณปลายทางใบ ในอัตรา 1-4 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ

                  ของปาล์มน้้ามันผลผลิตเฉลี่ย 3,000 – 5,000 กิโลกรัม/ไร่










                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137