Page 26 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 26

17





                                            (4.1)  การกร่อนโดยลม (wind erosion) คือ การท าให้อนุภาคดินเคลื่อนย้าย
                  จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งโดยการกระท าของลม การกร่อนโดยลมขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ

                  ความเร็วของลม สภาพภูมิประเทศ สมบัติของดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่บริเวณที่เกิดการกร่อน
                  ส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่แห้งแล้ง ลมแรง เนื้อดินเป็นทรายและไม่มีพืชขึ้นปกคลุม หรือบริเวณพื้นที่แนวแคบๆ

                  ตามหาดทราย ชายทะเล

                                            (4.2)  การกร่อนโดยน้ า (water erosion) คือ การแตกกระจายและพัดพาโดย
                  น้ า จะยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับวัตถุต้นก าเนิดดิน ระบบการใช้ที่ดินและการจัดการดิน การกร่อนโดยน้ ามีหลาย

                  ชนิด ได้แก่ การกร่อนแบบแผ่น (sheet erosion) การกร่อนแบบริ้ว (rill erosion) การกร่อนแบบร่องธาร

                  (gully  erosion) และการกร่อนแบบท่อ (tunnel  erosion) ความรุนแรงของการกร่อนแบ่งออกได้เป็น 5
                  ชั้น ดังนี้

                    สัญลักษณ์                      ค าอธิบาย                        การสูญเสียของชั้นดิน
                                                                                       (เปอร์เซ็นต์) *

                       E         ไม่มีการกร่อน (non eroded)                                 0
                         0
                       E         กร่อนเล็กน้อย (slightly eroded)                         > 0 - 25
                         1
                       E         กร่อนปานกลาง (moderately eroded)                         25 - 75
                         2
                       E         กร่อนรุนแรง (severe eroded)                               > 75
                         3
                       E         กร่อนรุนแรงมาก (very severe eroded)                       100
                         4
                               หมายเหตุ *  หมายถึง  เปอร์เซ็นต์การสูญเสียของชั้นดิน A  และ/หรือชั้นดิน E  หรือการ

                  สูญเสียดินบน 20 เซนติเมตร (ถ้าชั้นดิน A และ/หรือชั้นดิน E ดั้งเดิมมีความหนาน้อยกว่า 20 เซนติเมตร)
                               การเขียนหน่วยแผนที่ดิน

                                    สัญลักษณ์ :  ชุดดินหรือดินคล้าย - เนื้อดินบน ความลาดชัน/ความลึกของดิน, การกร่อน
                  (soil series or soil variants - surface texture, slope / depth, erosion)

                                    ตัวอย่างสัญลักษณ์หน่วยแผนที่ดิน  Ws-clD/d ,E  : ชุดดินวังสะพุง มีเนื้อดินบนเป็น
                                                                           3 2
                  ดินร่วนปนดินเหนียว ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ ลึกปานกลาง กร่อนปานกลาง (Wang Saphung -

                  clay loam, 12-20 percent slope/ moderately deep, moderately eroded)

                             การจ าแนกความเหมาะสมของดิน
                                1) การจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจ  ใช้วิธีประเมินตามคู่มือการ

                  จ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย (กองส ารวจและจ าแนกดิน, 2543)  โดยมี

                  รายละเอียดดังนี้
                                   หลักเกณฑ์การจ าแนกความเหมาะสมของดิน

                                      1.1) ศึกษาลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดิน ตลอดจนสภาพแวดล้อมที่ได้จากข้อมูล
                  การส ารวจและจ าแนกดินอย่างละเอียด แล้วน ามาจัดเป็นหมวดหมู่หรือเป็นชั้นตามความรุนแรงของลักษณะ

                  ดินและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเพาะปลูกพืช หรือตามความเสี่ยงต่อความเสียหายเมื่อน าดินนั้นมาปลูกพืช
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31