Page 103 - การวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติและการกำหนดบริเวณการใช้ที่ดินตามศักยภาพพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองจันดี (รหัส2202)
P. 103

75




                  ไดแก ปริมาณน้ําฝน ความแรงของน้ําฝน ลักษณะของดิน ลักษณะของพืชคลุมดิน สภาพของ    พื้นที่

                  และมาตรการระบบอนุรักษดินและน้ํา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับแตละปจจัยที่เกี่ยวของดังนี้

                         8.4.1   ปจจัยที่เกี่ยวของกับฝน  (erosivity  factor) เปนคาความสัมพันธของพลังงานจลน
                  ของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวหนาดินกับปริมาณความหนาแนนของฝนในชวงระยะเวลาหนึ่ง

                  ซึ่งความสัมพันธนี้ไดมีผูศึกษาและนํามาประยุกตใชอยางกวางขวาง ( Kunta, 2009) ในการศึกษานี้ได

                  นําคาสหสัมพันธระหวางคาปจจัยการกัดกรอนของฝน สอดคลองตามวิธีการของ  Wischmeier (กรม

                  พัฒนาที่ดิน, 2545)  ตามที่มนูญและคณะศึกษาไวมาวิเคราะหรวมกับขอมูลปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยรายป
                  (average  annual  rainfall)   ในชวงระยะเวลา 40 ป  (พ.ศ. 2514-2554) ไดคาปจจัยที่เกี่ยวของกับฝน

                  สําหรับพื้นที่ลุมน้ําสาขาคลองจันดี

                         การประเมินคาปจจัยการชะลางพังทลายของฝน ใชเสนชั้น  น้ําฝน รายปเฉลี่ย  (มิลลิเมตร)
                  ของกรมอุตุนิยมวิทยา มาคํานวณหาคา R จากสูตร

                                 R  =   0.4996X-12.1415

                                 จากสูตรคา  R ที่ไดจะมีหนวยเปนตันตอเฮกเตอรตอป ทําการแปลงเปนหนวย

                  ตันตอไรตอป (6.25 ไร เทากับ 1 เฮกเตอร)
                         8.4.2   ปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะของดิน  (erodibility  factor)  เปนคาความคงทนของดิน

                  ภายใตสภาพแวดลอมที่คลายคลึงกันดินแตละชนิดจะทนตอการชะลางพังทลายที่แตกตางกัน

                  สอดคลองตามหลักการของ  Wischmeier  นั้น สามารถวิเคราะหคาปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะดินนี้
                  จากภาพ Nomograph โดยประเมินไดจากสมบัติของดิน 5 ประการคือ 1) ผลรวมปริมาณรอยละดินทรายแปง

                  และปริมาณรอยละของทรายละเอียดมาก 2) ปริมาณรอยละของทราย 3) ปริมาณรอยละอินทรียวัตถุในดิน

                  4) โครงสรางของดิน และ 5) การซาบซึมน้ําของดิน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ไดศึกษาปจจัยดังกลาว
                  และใหคาปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะของดินสอดคลองตามกลุมชุดดิน (  soil  group)  โดยดินใน

                  ประเทศไทยมีคาปจจัยความคงทนตอการสูญเสียดิน (K) อยูระหวาง 0.04-0.56 โดยกลุมชุดดินที่ 22  23

                  24  41  42  และ 43 ซึ่งมีเนื้อดินบนสวนใหญเปนดินทรายรวน มีคา K ต่ําสุด คือ อยูระหวาง 0.04-0.08
                  และกลุมชุดดินที่ 33 ซึ่งมีเนื้อดินบนสวนใหญเปนดินรวนปนทรายแปง มีคา  K  สูงสุด คืออยูระหวาง

                  0.37-0.56  ขณะที่หนวยธรณีวิทยาพวกหินทราย มีคา  K  ต่ําสุด คือ อยูระหวาง 0.04-0.8 และหนวย

                  ธรณีวิทยาพวกหินดินดานและหินอัคนี มีคา K คอนขางสูง คืออยูระหวาง 0.24-0.30 จากขอมูลกลุมชุดดิน

                  พบวาในพื้นที่ลุมน้ําสาขาคลองจันดีมีคาปจจัยความคงทนตอการสูญเสียดิน (K) ดังตารางที่ 15












                                                                   สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108