Page 15 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวนาปรัง
P. 15
บทที่ 2
ขอมูลพื้นฐาน
ประเทศไทยตั้งอยูในเขตรอนทางทิศตะวันออกเฉียงใตของทวีปเอเชียระหวางละติจูด 5 องศา
37 ลิปดา เหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดา เหนือ และระหวางลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดา ตะวันออก
กับ 105 องศา 37 ลิปดา ตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
320,696,887 ไร มีอาณาเขตติดตอกับประเทศใกลเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดประเทศเมียนมารและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก ติดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศกัมพูชา
ประชาธิปไตย และอาวไทย
ทิศใต ติดประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดประเทศเมียนมารและทะเลอันดามัน
2.1 ภูมิประเทศ
ประเทศไทยมีภูมิประเทศหลายรูปแบบทั้งเปนเทือกเขา ที่มียอดเขาสูงสลับซับซอน
มีหุบเขาแทรกสลับมากมาย มีภูเขาโดด ที่ลาดเชิงเขา ที่ราบสูงจนถึงที่ลุมน้ําทวมถึง มีแองต่ําน้ําแชขัง
และมีเกาะแกงมากมาย ซึ่งลักษณะภูมิประเทศเหลานี้กระจายอยูตามภาคตางๆ เปนลักษณะเฉพาะ
ไมเหมือนกัน ลักษณะภูมิประเทศแบงตามภาคตางๆ ดังนี้
1) ภาคเหนือ
ภูมิประเทศประกอบดวยเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบระหวางเขา หรือที่ราบบริเวณแมน้ํา
ภาคนี้มีทิวเขาติดกันเปนพืดในแนวเหนือใต ทางตอนเหนือมีทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนระหวางไทย
กับเมียนมาร ซึ่งเปนตนกําเนิดของแมน้ําปงทางดานตะวันตกมีทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี
บางสวนตอนกลางของภาคมีทิวเขาผีปนน้ํา ซึ่งเปนตนกําเนิดของแมน้ําวังและแมน้ํายม ดานตะวันออก
ของภาคมีทิวเขาหลวงพระบาง ซึ่งเปนตนกําเนิดของแมน้ํานาน และทิวเขาเพชรบูรณบางสวน
แมน้ําเหลานี้จะไหลลงสูภาคกลางรวมกันเปนแมน้ําเจาพระยาที่จังหวัดนครสวรรค ทิวเขาเหลานี้
มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,600 เมตร เหนือระดับน้ําทะเลปานกลาง สวนใหญมีความสูงมากกวา
1,000 เมตร และบางแหงมีความสูงเกิน 1,750 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคนี้ คือ ดอยอินทนนท
ซึ่งมีความสูงประมาณ 2,565 เมตร และอยูหางจากจังหวัดเชียงใหมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต
ประมาณ 56 กิโลเมตร