Page 170 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 170

5-2








               พบวา พื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมทางสูง (S1) มีสัดสวนรอยละ 12.31 ของพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
               ทั้งประเทศ ซึ่งไมนับรวมพื้นที่ที่ไมเหมาะสม (N)  สวนใหญอยูในภาคใตและภาคตะวันออกคิดเปน

               รอยละ 11.08 และ 1.09 ของเนื้อที่ความเหมาะสมสําหรับการผลิตเงาะทั้งประเทศ ตามลําดับ

               ในภาคใตอยูที่จังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง  สุราษฎรธานี นราธิวาสและยะลา ตามลําดับ

               สวนภาคตะวันออกอยูที่จังหวัดจันทบุรี เกือบทั้งหมด ขณะที่พื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง
               (S2)  มีพื้นที่มากที่สุดคือมีอยูถึงรอยละ 48.55  อยูในภาคใตรอยละ 29.37 ที่จังหวัดสุราษฎรธานี กระบี่

               สงขลา นครศรีธรรมราช และนราธิวาส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรอยละ 13.01 ที่อุบลราชธานี

               หนองคาย นครพนม และอุดรธานี  และภาคตะวันออกรอยละ 6.16 ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง

               ฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี สวนพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กนอย (S3)  มีรอยละ 39.15 ของพื้นที่
               ที่ดินมีความเหมาะสมทั้งประเทศ รอยละ 20.03 อยูที่ภาคใต บริเวณจังหวัดสุราษฎรธานี สงขลา

               ชุมพร นครศรีธรรมราชและพังงา รอยละ 12.04 อยูที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัด

               อุบลราชธานี หนองคาย นครพนมและอุดรธานี และอีกรอยละ 6.86 อยูที่ภาคตะวันออก ที่จังหวัด

               จันทบุรี สระแกวและจังหวัดตราด เปนที่นาสังเกตวา จังหวัดตราดมีพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสม
               สําหรับการปลูกเงาะในระดับเล็กนอย (S3)  เทานั้น ดังนั้นพื้นที่ซึ่งหนวยราชการที่เกี่ยวของจะเขา

               ไปสงเสริมการปลูกเงาะควรเปนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและปานกลาง ตามลําดับ สําหรับพื้นที่

               ที่ดินมีความเหมาะสมนอยนั้น รัฐควรมีมาตรการจูงใจใหเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนเงาะ

                         3) ซึ่งถาพิจารณาผลการกําหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะแลว ในภาคใตมีพื้นที่
               ที่เหมาะสมมาก (Z-I)  ประมาณรอยละ 58.58 ของพื้นที่กําหนดเขตเงาะทั้งประเทศ หรือรอยละ

               67.77 ของพื้นที่ที่เหมาะสมมากทั้งหมด ซึ่งอยูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และนราธิวาสมาก

               เปนอันดับที่ 1-3  ของภาคนี้  สวนภาคตะวันออกอยูที่จังหวัดจันทบุรี ระยองและปราจีนบุรี รวมพื้นที่

               เหมาะสมมากของภาคตะวันออกประมาณรอยละ 30  บริเวณพื้นที่ที่กําหนดเขตใหมีความเหมาะสม
               ปานกลาง (Z-II) มีพื้นที่อยูในภาคตะวันออกมากกวาภาคใตคือประมาณรอยละ 22  และ 11 ของพื้นที่

               กําหนดเขตเงาะทั้งประเทศ ตามลําดับ ภาคตะวันออกไดแกจังหวัดจันทบุรี ตราดและระยอง ภาคใตที่

               จังหวัดชุมพร สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราชและพังงา  ทั้งนี้ไมไดกําหนดพื้นที่เขตการใชที่ดินที่มี
               ความเหมาะสมนอยสําหรับเงาะ  เนื่องจากเขตพื้นที่การใชที่ดินที่กําหนดวาเหมาะสมสําหรับเงาะ

               เฉพาะ 2 เขตแรกนั้นก็เทากับจํานวนพื้นที่ซึ่งกําหนดไวตามยุทธศาสตรของกระทรวงเกษตรและ

               สหกรณแลว

                         4) ผลการสํารวจของสวนวางแผนการใชที่ดิน พบวาตนทุนการผลิตเงาะตอหนวย

               ผลผลิตยังต่ํากวาราคาที่เกษตรกรไดรับทําใหเกษตรกรมีกําไร  การปลูกเงาะนั้นถาเปนเงาะอินทรีย
               ไมจําเปนตองใชสารเคมีเพราะไมมีศัตรูพืชที่รุนแรง อาจใชเฉพาะควบคุม หรือกําจัดโดยแรงงานคน




               เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ                            สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175