Page 169 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 169

บทที่ 5

                                             โอกาสและขอจํากัดการผลิตและการตลาด



                              เงาะเปนไมผลเพื่อบริโภคผลสดและเปนวัตถุดิบที่สําคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระปอง

                       และเงาะสอดไสสับปะรดบรรจุกระปองเปนที่ตองการของตลาดทั้งภายในประเทศและตางประเทศ

                       ที่ผานมาถึงแมวาจะเกิดปญหาราคาผลผลิตตกต่ําเกือบทุกป  เนื่องจากชวงฤดูกาลผลิตเงาะคอนขางสั้น
                       ในชวงเวลากลางฤดูจะมีปริมาณผลผลิตมากกวารอยละ 50 ออกสูตลาดพรอม ๆ กัน แตเงาะก็ยังจัด

                       วาเปนไมผลที่ทํารายไดดีอีกพืชหนึ่ง ดังนั้นจึงตองมีการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม สามารถทําให

                       เกษตรกรไดรับผลกําไรจากการผลิต  ลดปญหาปริมาณผลผลิตลนตลาด  กรมพัฒนาที่ดินจึงไดดําเนินการ

                       กําหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ เพื่อสนองรับยุทธศาสตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ
                       ที่ใหลดพื้นที่ปลูกเงาะในป 2552 เหลือ 293,000 ไร  มีผลผลิต 289,000 ตันตอป  และมีราคาเฉลี่ย

                       อยูที่ 10 บาทตอกิโลกรัมเปนอยางนอย พรอมกันนี้ตองพัฒนาคุณภาพ   เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป

                       และสรางตลาดเชิงรุก  ดังนั้นเพื่อใหการกําหนดเขตการใชที่ดินสําหรับเงาะเปนไปอยางเหมาะสม
                       จึงเนนในพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมสูงและปานกลางเปนหลัก   โดยตองพิจารณาปจจัยทางกายภาพ

                       ควบคูกับทางเศรษฐกิจและสังคม  ปจจัยสําคัญยิ่งอยางสวนหนึ่งคือ  ตองคํานึงถึงศักยภาพดานโอกาส

                       และขอจํากัดทั้งในดานการผลิตและการตลาดของพืชนี้ ซึ่งการวิเคราะหจุดแข็ง จุดออน โอกาสและ

                       ขอจํากัดของการผลิตเงาะในประเทศไทยนั้นจะชวยใหสามารถวางแผนการผลิตเงาะ  โดยอาศัย
                       จุดแข็งและโอกาสเปนแนวทางในการเริ่มตนหรือขยายการผลิตได  รวมถึงสามารถใชจุดออน

                       และขอจํากัด  เปนแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงขอบกพรองตาง ๆ ของการผลิตพืชนี้ได

                       ดวยเชนกัน  การศึกษาครั้งนี้ไดใชแนวทางของสถาบันวิจัยพืชสวน  กรมวิชาการเกษตร (2547)
                       ดังรายละเอียดตอไปนี้



                       5.1  โอกาสในการพัฒนาการผลิตและการตลาด

                           5.1.1 จุดแข็ง (Strength)


                                 1) ผลิตภัณฑเงาะกระปองสอดไสสับปะรดของประเทศไทยเปนที่ยอมรับของตลาด
                       ตางประเทศ จะเห็นไดจากปริมาณและมูลคาการสงออกตั้งแตปพ.ศ. 2537 -2547  (กรมศุลกากร,

                       2548) ของเงาะสดมีแนวโนมเพิ่มขึ้นรอยละ 14.34  ตอป มูลคาผลผลิตเพิ่มขึ้น รอยละ 7.47 ตอป แต

                       ปริมาณเงาะสดเพิ่มขึ้นไมมากนักเพียงประมาณรอยละ 2  ตอป ขณะที่มีมูลคาสงออกรอยละ 12.11 ตอป

                                 2)  บริเวณพื้นที่ที่ดินมีความเหมาะสมระดับตาง ๆ สําหรับการปลูกเงาะจากการ
                       วิเคราะหขอมูลของสวนวางแผนการใชที่ดิน สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174