Page 13 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 13

1-4







               ใชวิธีการหาคาเฉลี่ย รอยละ และอัตราการเปลี่ยนแปลง(ถามี) โดยจําแนกผลการวิเคราะหในแตละ
               ระดับความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดิน และพื้นที่ภาคตาง ๆ เนื่องจากทดสอบคาทางสถิติ

               แลวพบวามีความแตกตางในปริมาณผลผลิตเฉลี่ยตอไร  ตนทุนและผลตอบแทนประเภทตาง ๆ

               ที่ระดับนัยสําคัญ 0.10   การวิเคราะหใชโปรแกรมสําเร็จรูป Microsoft Excel  และ อื่น ๆ

               ดังรายละเอียดตอไปนี้
                                การวิเคราะหขอมูลทางดานตนทุนการผลิตและผลตอบแทนการผลิตพืชเศรษฐกิจเงาะ

               จําแนกตนทุนเปน 2  ประเภทที่สําคัญ ไดแก  ตนทุนผันแปรและตนทุนคงที่

                                ตนทุนผันแปร เปนคาใชจายที่เกี่ยวของกับการผลิตที่จะเปลี่ยนแปลงไป

               ตามปริมาณการผลิต ซึ่งคาใชจายประเภทนี้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มหรือลดได
               ในชวงระยะเวลาการผลิตพืช เชน คาแรงงาน  คาวัสดุการเกษตร คาเชาอุปกรณการเกษตร เปนตน

               ตนทุนผันแปรยังจําแนกตามลักษณะของการใชจายของเกษตรกรผูผลิตไดเปน ตนทุนผันแปรที่เปนเงินสด

               เปนคาใชจายผันแปรที่ผูผลิตจายออกไปจริง ๆ เปนเงินสด   และตนทุนผันแปรที่ไมเปนเงินสด

               เปนคาใชจายผันแปรที่ประเมินไวในรายการที่ไมไดจายจริง  อาทิ คาแรงงานตนเองและครอบครัว
               คาตนพันธุที่ผลิตขึ้นเอง เปนตน

                                ตนทุนคงที่ เปนคาใชจายที่เกิดขึ้นถึงไมไดทําการผลิตพืช ซึ่งคาใชจายประเภทนี้

               จะไมเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตพืช  แบงเปน 2  ประเภท เชนเดียวกับตนทุนผันแปรคือ

               ตนทุนคงที่ที่เปนเงินสด เปนคาใชจายคงที่ที่ผูผลิตไดจายเปนเงินจริง เชน คาภาษีที่ดินซึ่งตองเสียทุกป
               ไมวาที่ดินผืนนั้นจะใชประโยชนในปนั้น ๆ หรือไมก็ตาม  คาเชาที่ดินที่ใชในการปลูกพืช  และ

               ตนทุนคงที่ที่ไมเปนเงินสด เปนคาใชจายคงที่ที่เกษตรกรผูผลิตพืชไมไดจายออกไปเปนตัวเงิน

               เปนคาใชจายจากการประเมินเทานั้น ไดแก คาใชที่ดิน คาเสื่อมเครื่องมือและอุปกรณการเกษตร

                                ผลตอบแทนจากการผลิตเงาะ  จําแนกใหสอดคลองกับการวิเคราะหตนทุนคือ
               ผลตอบแทนเหนือตนทุนที่เปนเงินสด ผลตอบแทนเหนือตนทุนผันแปรและผลตอบแทน

               เหนือตนทุนทั้งหมด   ซึ่งคํานวณไดจากผลตางระหวางมูลคาผลผลิตที่เกษตรกรไดรับทั้งหมด

               กับตนทุนกับตนทุนแตละประเภท
                                ดวยเหตุที่เงาะเปนพืชที่มีอายุเกินกวา 1 ป สามารถทําการเก็บเกี่ยวผลผลิตไดนานป

               ดังนั้นไดทําการวิเคราะหทางการเงินที่ใชหลักการวิเคราะหเชนเดียวกับหลักการวิเคราะหโครงการ

               (Project Analysis) คือ ใชมาตรวัดโครงการแบบมีการทอนคา (เพื่อลดผลกระทบที่เกี่ยวกับระยะเวลา

               ที่เกิดขึ้น) มีการปรับคาของเงินในอนาคตใหเปนปจจุบันโดยใชอัตราการทอนคา (Discount Rate)

               เปนตัวหักลดแลวคํานวณตนทุนและผลไดหรือผลตอบแทนที่เกษตรกรไดรับจากการผลิต






               เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจ เงาะ                                                                                      สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18