Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ
P. 10

บทที่ 1

                                                             บทนํา



                       1.1 หลักการและเหตุผล



                              เงาะเปนไมผลเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทยชนิดหนึ่ง   เนื่องจากมีรสชาติดี   มีรูปราง
                       และสีสันแปลกตา   พันธุที่ปลูกมากและผูบริโภคนิยม คือ พันธุโรงเรียน   พื้นที่ปลูกเงาะที่สําคัญ

                       อยูในภาคตะวันออก  ปลูกมากที่จังหวัดจันทบุรีและภาคใต ปลูกมากที่จังหวัดชุมพร และสุราษฎรธานี

                       โดยปลูกในลักษณะสวนผสม   ในปจจุบันเกษตรกรตองเผชิญปญหาตาง ๆ มากมาย เชน ผลผลิต

                       ออกมากกลางฤดูการผลิตทําใหขายไดราคาต่ํา ราคาผลผลิตไมแนนอน ประกอบกับอัตราการสงออกเงาะ
                       มีปริมาณนอยมาก   เมื่อเทียบกับผลไมชนิดอื่น   และการแปรรูปเปนผลิตภัณฑเงาะในน้ําเชื่อม

                       บรรจุกระปองเปนผลิตภัณฑที่มีการขยายตัวทางดานอุตสาหกรรมแปรรูปไมกวางขวางเทากับลิ้นจี่หรือ

                       ลําไย  ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนเงาะในปจจุบัน พยายามหาเทคนิคและวิธีการตาง ๆ ในการเพิ่มผลผลิตเงาะ
                       โดยใชสารเคมี   สารควบคุมการเจริญเติบโต   การจัดการปุยและน้ําที่เหมาะสม   แตอยางไรก็ตาม

                       การดูแลรักษาโดยใชวิธีตาง ๆ ดังกลาวขางตนเกษตรกรสวนใหญยังขาดความรูความใจที่ถูกตอง

                       สงผลใหมีการลงทุนสูง  จากปญหาดังกลาว  รัฐบาลจึงมีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเงาะ  โดยใหเกษตรกร
                       หันไปปลูกพืชที่ราคารับซื้อสูงกวาและมีตลาดรับซื้อที่แนนอนทดแทน

                              กรมพัฒนาที่ดินไดดําเนินการกําหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจเงาะ   เพื่อสนองรับ

                       ยุทธศาสตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ   ที่มีระยะเวลาตั้งแตป พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ.2552
                       กําหนดใหลดพื้นที่ปลูกเงาะ   ในปพ.ศ. 2552 ลดพื้นที่เหลือ 293,000 ไร  มีผลผลิต 289,000 ตันตอป

                       และมีราคาเฉลี่ยอยูที่ 10 บาทตอกิโลกรัม พรอมกันนี้ตองพัฒนาคุณภาพ  เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป

                       และสรางตลาดเชิงรุก   โดยคัดเลือกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงและปานกลางเปนหลัก
                       โดยพิจารณาปจจัยทางกายภาพควบคูกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อใชในการกําหนด

                       เขตการใชที่ดินที่เหมาะสมตอไป



                       1.2 วัตถุประสงค


                        1.2.1  เพื่อกําหนดเขตการใชที่ดินที่เหมาะสมทั้งทางดานกายภาพ   เศรษฐกิจและสังคม
                        1.2.2  เพื่อใชเปนฐานขอมูลในการกําหนดแผนงานพัฒนาพืชเศรษฐกิจ เงาะ ในระดับพื้นที่

                        1.2.3  เพื่อเปนขอมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาด   สําหรับการสงออกและการบริโภค

                       ภายในประเทศ   รวมถึงอุตสาหกรรมตอเนื่องที่เกี่ยวของ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15