Page 32 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน
P. 32

2-19








                       โดยเฉพาะในถั่วเหลืองพันธุตางๆ  จะมีการพัฒนาเปนดอก  เมื่อไดรับแสงวันสั้นลงกวาชวงวิกฤติ
                       ของพันธุนั้นๆ  แตการตอบสนองตอชวงแสงจะแตกตางกันไป  ทั้งนี้เพราะวาชวงแสงในเขตรอน

                       โดยเฉพาะประเทศไทยมีความยาวชวงแสงจะแตกตางกัน  มีความยาวชวงแสงตลอดปประมาณ

                       11-13  ชั่วโมง  ซึ่งถือวามีชวงแสงสั้นกวาชวงวิกฤติสําหรับถั่วเหลืองทั้งสิ้นซึ่ง critical day length
                       สําหรับถั่วเหลืองคือ 13  ชั่วโมง  จึงทําใหอายุการออกดอกจะไมแตกตางกันระหวางชวงวันยาว

                       11  และ 13  ชั่วโมง  ในขณะเดียวกันก็จะไมมีความแตกตางกันสําหรับอายุการออกดอกของพันธุ

                       ตางๆ กันดวย โดยทั่วไปชวงวันในฤดูรอนจะยาวขึ้นในที่เสนรุงที่สูงขึ้น ทําใหการพัฒนาดอกก็ยิ่ง
                       จะถูกชะลอไปนานยิ่งขึ้นดวย โดยในแหลงที่มีชวงแสงวันยาวยิ่งกวาชวงแสงวิกฤติของพันธุนั้นๆ

                       อิทธิพลของพันธุกรรมและความยาววันยอมมีผลตออายุวันออกดอกมากยิ่งขึ้นดวย


                                2) อุณหภูมิต่ํา
                                   อุณหภูมินับวาเปนปจจัยที่สําคัญอยางหนึ่ง  สําหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

                       ของถั่วเหลืองที่ปลูกในชวงฤดูแลงหลังเก็บเกี่ยวขาว โดยเฉพาะอุณหภูมิต่ําในระยะแรก ซึ่งสวนใหญ

                       จะเกิดขึ้นในชวงเดือนธันวาคม–มกราคม ซึ่งจะทําใหการงอกและเจริญเติบโตหยุดชะงักหรือชะลอลง
                       เมื่อไดรับอุณหภูมิต่ํา จากรายงานพบวา ถั่วเหลืองเมื่อไดรับอุณหภูมิต่ําประมาณ 16 องศาเซลเซียส

                       จะใชเวลาในการงอกประมาณ 11 วัน และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเปน 25 เซลเซียส ใชเวลางอกประมาณ

                       5  วัน  สําหรับอุณหภูมิต่ําสุด (base  temperature)  ที่เมล็ดจะงอกโผลพนจากดินไดจะอยู

                       ประมาณ 10 องศาเซลเซียส และตนออนจะมีอัตราการเจริญชาหรือชะงักการเจริญเติบโตเมื่อไดรับ
                       อุณหภูมิต่ํา


                                3) กระทบแลงในชวงออกดอกติดฝก
                                   ความชื้นนับวาเปนปจจัยที่สําคัญสําหรับการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองที่ปลูกในสภาพ

                       หลังการทํานาในสภาพที่อาศัยความชื้นในดินที่หลงเหลืออยูหลังเก็บเกี่ยวขาว มักประสบปญหาขาดน้ํา

                       ในระยะหลังหรือระยะเจริญพันธุ ซึ่งนับวาเปนปจจัยที่สําคัญสําหรับการเจริญเติบโตของถั่วเหลือง
                       ในสภาพนา เมื่อเกิดภาวะขาดน้ํา (water deficit)โดยสงผลกระทบตอกระบวนการทางสรีรวิทยา

                       ซึ่งมีสวนที่เกี่ยวของกับการเจริญเติบโตและพัฒนา  ตลอดจนการสรางผลผลิต  ผลกระทบที่เกิดขึ้น

                       จะมากหรือนอยขึ้นอยูกับชนิดของพืช ระดับความรุนแรงและชวงเวลาที่เกิด









                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแลงในเขตชลประทาน    สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37