Page 43 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               11























                       ภาพที่ 1.3 ภาพอนุภาคของถ่านที่อยู่ในระบบดินมีบทบาทในการกักเก็บธาตุอาหารและน้ำ

                       ที่มา: Bruckman and Klinglmüller (2014)


                              นอกจากคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมแล้ว ยังมีคุณสมบัติทางเคมี เช่น การรักษาระดับ
                       pH ในดินให้มีความเหมาะสมซึ่งจะทำให้มีสภาพแวดล้อมของดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ

                       พืช (Laird et al., 2010) ถ่านมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (cation exchange capacity:

                       CEC) สูง จึงส่งผลทำให้ดินมีความสามารถในการกักเก็บธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในดิน หรือจากการย่อย
                       สลายได้ดี และจะค่อยๆปลดปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เปรียบเสมือน buffer ภายในดิน และถ่านมีค่า

                       pH ที่สูงจึงช่วยในการปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช

                       โดยเฉพาะเพิ่มระดับของความสามารถในการแลกเปลี่ยนโพแทสเซียม (K) และ แมกนีเซียม (Mg)
                       (FFTC, 2001) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการปลูกพืชทั้งพืชไร่ และพืชสวน เนื่องจาก K มี

                       บทบาทที่สำคัญในการสร้างและเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลซึ่งมีผลโดยตรงต่อการสะสมน้ำตาลใน

                       ผลไม้ จากคุณสมบัติของถ่านที่กล่าวมาข้างต้นถ่านจึงเป็นสารอินทรีย์ที่เหมาะสมในการใส่ลงไปในดิน
                       เพื่อปรับปรุงดิน อย่างไรก็ตาม ชนิดของถ่านเป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณสมบัติของถ่าน และการ

                       เจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะโครงสร้างทางกายภาพ ถ่านยูคาลิปตัสน่าจะมีขนาดของรู
                       พรุนที่ใหญ่กว่า ซึ่งอาจทำให้ความสามารถในการกักเก็บน้ำได้ดีกว่าถ่านแกลบ รวมทั้งผลงานวิจัย

                       Hemwong and Cadisch (2012)  ถ่านยูคาลิปตัสยังความสามารถเพิ่มค่า CEC ของดินได้มากกว่าถ่าน

                       แกลบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าถ่านยูคาลิปตัสน่าจะสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดีกว่าถ่านแกลบซึ่งเป็นผลมาจาก
                       ขนาดโครงสร้างทางกายภาพของถ่าน
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48