Page 47 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               15


                       หลีกเลี่ยงถ่านชีวภาพเมื่อมีการใส่ในอัตราที่สูง (100 ตันต่อเฮกตาร์) เพียงวันที่ 2 ของการใส่ นี้อาจ

                       เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นประโยชน์ของน้ำหรือการกำจัดคุณสมบัติต่าง ๆ
                       (Hagner et al., 2016) อย่างไรก็ตาม Husk and Major (2010) ได้รายงานว่าการใส่ถ่านชีวภาพมีผล

                       ด้านบวกต่อจำนวนประชากรของไส้เดือนดินเมื่อใส่ถ่านชีวภาพที่อัตรา 3.9 ตันต่อเฮกตาร์ ในขณะที่

                       Tammeorg et al. (2014) ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของการเปลี่ยนแปลงของไส้เดือนดินใน
                       การศึกษาแปลงทดลองภายหลังการใส่ถ่านชีวภาพ 6 เดือน อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษา

                       ผลในสภาพแปลงทดลองในระยะยาวเพื่อให้เข้าใจผลของถ่านชีวภาพต่อไส้เดือนดินอย่างชัดเจนขึ้น

                         1.4.4 การวางแผนการให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตข้าว
                              การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมาก โดยเฉพาะการตกของฝน

                       ที่แปรปรวนยากต่อการคาดการณ์ ซึ่งจากสถิติการตกฝนของประเทศและรายภาคในรอบ 10 ปีที่ผ่าน

                       มา (พ.ศ. 2553 ถึง 2562) พบว่าปริมาณน้ำฝนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนวันฝนตกลดลง
                       (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2563) แสดงให้เห็นว่าการตกของฝนแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากขึ้น

                       สอดคล้องกับ Sukanya et al. (2018) ซึ่งการทำการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาในส่วนของภาค
                       ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบอาศัยน้ำฝนหลัก จึงได้ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสูง

                           รายงานวิจัยภายใต้การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลง

                       สภาพภูมิอากาศในระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สมหมาย
                       และคณะ, 2556) สรุปได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่รับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ความ

                       แปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และได้มีการปรับเปลี่ยน ยอมเสียพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งน้ำสำรองมาก
                       ขึ้น ในรูปแบบต่างๆ ตามการส่งเสริมของหน่วยงานหรือโดยการลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งรูปแบบการ

                       จัดการฟาร์ม แบบโคกหนองนา โมเดล ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำ

                       ในพืนที่ ซึ่งการปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จนั้นมีปัจจัยที่สำคัญ 2 ปัจจัยคือ น้ำ และดิน ซึ่งใน
                       ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาศึกษาและช่วยในการบริการจัดการน้ำและดินในพื้นที่หลาย

                       แบบ และการนำแบบจำลอง Agro-ecological Zones (AEZs) ที่ได้รับการพัฒนาจากองค์การอาหาร

                       และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งใช้ประเมินเสถียรภาพการใช้พื้นที่ โดยส่วนประกอบของ
                       แบบจำลองนี้ส่วนหนึ่งเป็นแบบจำลองสมดุลน้ำ ซึ่ง Inthavong et al. (2011) ได้รับการพัฒนาและ

                       มาประยุกต์ใช้ในการประเมินความชื้นของดินนา
                              แม้ว่าเกษตรจะรับรู้ถึงผลกระทบของความแปรปรวนของฝน โดยมีการปรับพื้นที่ให้มีแหล่ง

                       น้ำสำรองมากขึ้น แต่ลักษณะเนื้อดินนาส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทราย

                       มีอินทรียวัตถุต่ำ จึงมีความจุในการอุ้มน้ำได้น้อย (Homma et al., 2007; Tsubo et al., 2007) และ
                       พฤติกรรมการทำนาของเกษตรกรส่วนใหญ่ จะเริ่มต้นปลูกตามการตกของฝนหรือตามเวลาการปฏิบัติ

                       ของรุ่นก่อนที่เคยทำ ซึ่งจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่กระทบต่อการตกของฝนที่
                       ขยับถอยไปช่วงท้ายของปี ทำให้ข้าวมีผลกระทบแล้งช่วงต้นฤดูปลูกหรืออาจต้องมีการหว่านซ้ำ ดังนั้น

                       การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความชื้นหรือความสามารถในการอุ้มน้ำของดินโดยการคาดการณ์
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52