Page 48 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 48

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                        16


               โดยแบบจำลอง ทำให้ทราบระยะเวลาความต้องการน้ำของข้าวหรือช่วงเวลาที่ต้องให้น้ำเบื้องต้น

               ร่วมกับรูปแบบฟาร์มแบบโคกหนองนาที่มีแหล่งน้ำสำรอง
                       1.4.5 ความหลากหลายทางชีวภาพ

                               ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน อีกทั้งยังมีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศ

               และสภาพภูมิประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยมีทรัพยากรทางชีวภาพที่หลากหลายที่สุด
               แห่งหนึ่งในโลก พันธุ์ไม้ที่พบในประเทศไทยนั้นมีประมาณ15,000 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 5.56 ของ

               พรรณพืชที่พบในโลก (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559) ความหลากหลายทาง

               ชีวภาพมีส่วนสนับสนุนให้วิถีชีวิตดำเนินไปโดยสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจุดแข็งที่
               ทำให้มีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเป็นทุนที่มีชีวิตและเกี่ยวโยงอยู่ใน

               ทรัพยากรทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ สัตว์ จุลินทรีย์ ซึ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และเป็นส่วนที่สำคัญ

               ที่สุดของระบบนิเวศ (สุรางค์ เธียรหิรัญ, 2557)
                          ความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งหมายถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (พืช สัตว์ จุลินทรีย์)

               ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศหนึ่งๆ หรือในบริเวณพื้นที่หนึ่งๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือต่างเวลากัน (เช่น
               ฤดูฝนและฤดูหนาว มีสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน) แบ่งความหลากหลายออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                       (ก) ความหลากหลายทางพันธุกรรม คือ ความแตกต่างของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตประเภท

               หนึ่งๆ เช่น การมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ในนาข้าว
                       (ข) ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต คือ ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตทั้งชนิดและประเภท

               ในพื้นที่หนึ่งๆ เช่น การมีพืชหลากหลายชนิด และสัตว์ต่างๆ ในพื้นที่การเกษตร
                       (ค) ความหลากหลายของระบบนิเวศ คือ ความแตกต่างของระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่ เช่น

               การที่ประเทศหรือภูมิภาคมีความแตกต่างของระบบนิเวศที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ภาคใต้ของ

               ประเทศไทยมีระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) ป่าเขตร้อน และนิเวศชายฝั่งทะเลที่หลากหลายใน
               บริเวณใกล้ๆ กัน

                       แนวทางปฏิบัติการจัดการที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

               ได้แก่
                       1. ลดการไถพรวน และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำการไถพรวนให้น้อยลงเท่าที่

               จำเป็นเพราะการไถพรวนส่งผลต่อแมลงที่อยู่ผิวดิน โดยเฉพาะแมงมุมที่ทำรังอยู่บนผิวดิน และการใช้
               เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดใหญ่ ที่มีน้ำหนักมาก จะทำให้ดินแน่นแข็ง ส่งผลต่อปริมาณของตัวอ่อน

               แมลงที่อาศัยอยู่ใต้ดิน การเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบผสมผสานและมีอินทรียวัตถุสูง

                       2. การเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบผสมผสานและมีอินทรียวัตถุสูง การใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราสูงเป็น
               พิษต่อแมลงขนาดเล็ก และส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่กินแมลงขนาดเล็ก ดังนั้นการ

               เปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์จึงช่วยทำให้มีแมลงและสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย
                       3. การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติมีผลกระทบต่อแมลงแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับชนิดของ

               สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เลือกใช้ เช่น แมงมุมและด้วงเต่าจะได้รับผลกระทบมากจากสารเคมีกำจัด
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53