Page 42 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                        10


               (micropore) ขนาดกลาง (mesopore) และขนาดใหญ่ (macropore) อยู่จำนวนมาก ทำให้มีความ

               พรุน (porosity) และพื้นที่ผิวสัมผัส (surface area) สูง จากคุณสมบัติทางกายภาพของถ่านจึงมี
               บทบาทสำคัญในการลดความหนาแน่นของดิน และเพิ่มความจุในการอุ้มน้ำของดิน นอกจากนี้ยังเป็น

               ที่อยู่อาศัยของรากพืช และจุลินทรีย์ในดิน ยิ่งไปกว่านั้นถ่านซึ่งเป็นคาร์บอนที่เสถียรและคงทนต่อการ

               ย่อยสลาย หากใส่ลงไปในดินจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณคาร์บอน และช่วยกักเก็บคาร์บอนไว้ใน
               ดิน (carbon sequestration) ทำให้ถ่านสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานถึง 100 ปี หากเปรียบเทียบกับ

               การใส่วัสดุอินทรีย์อื่น ๆ เช่น ซากพืชต่าง ๆ และปุ๋ยคอก ซึ่งมีการย่อยสลายได้ง่ายจำเป็นต้องมีการใส่ใน

               ปริมาณมาก และบ่อยครั้ง

                                                                                 ก)


















                                                                                 ข)
















               ภาพที่ 1.2 ภาพถ่าย SEM รูพรุนของ ก) ถ่านแกลบ และ ข) ถ่านยูคาลิปตัส

               ที่มา: เสาวคนธ์ และคณะ (2560)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47