Page 46 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                        14


               สลาย ทำให้ไม่เหมาะกับการเป็นอาหารของจุลินทรีย์ แต่หากใช้ถ่านชีวภาพที่ผลิตใหม่ใส่ลงไปในดิน

               อาจช่วยในการเพิ่มอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ เนื่องจากในถ่านชีวภาพที่ผลิตใหม่
               ยังคงมีธาตุอาหารโดยเฉพาะ แคลเซียม และโพแทสเซียม อยู่ปริมาณมาก และอาจมีน้ำมันชีวภาพหรือ

               สารประกอบอินทรีย์ซึ่งจะช่วยในการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ได้ (Sparkes and

               Stoutjesdijk, 2011)
                      การใส่ถ่านชีวภาพลงในดินสามารถเพิ่มการตอบสนองต่อโรค และจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อมีใส่

               ถ่านชีวภาพทำให้ค่า pH ของดินเพิ่มขึ้น (Elad et al., 2011; Novak et al., 2009) รวมทั้งกระตุ้น

               ระบบความต้านทานต่อโรคของพืชด้วย (Elad et al., 2010; Graber et al., 2010) ถ่านชีวภาพ
               สามารถลดการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Botrytis cinereal และ Oidiopsis sicula ที่เป็นสาเหตุของ

               โรคในมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum L.) และพริกไทย (Capsicum annuum L.)

               นอกจากนี้ ถ่านชีวภาพสามารถลดการเกิดโรคที่เกิดจากดินที่เป็นสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อ
               ราได้ (Jaiswal et al., 2014) Nerome et al. (2005) พบว่า แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเหี่ยว (R.

               solanacearum) ในมะเขือเทศลดลงเมื่อเติมถ่านชีวภาพที่ผลิตจากเศษพืช การลดการเกิดโรคโดย
               การใช้ถ่านชีวภาพเกิดจากหลายกลไกดังนี้ (Hoitink and Fahy, 1986; Lehmann et al., 2011;

               Noble and Coventry, 2005) องค์ประกอบทางเคมีของถ่านชีวภาพอาจมีผลทำให้ไปยับยั้งการ

               เจริญเติบโตของตัวทำให้เกิดโรคโดยตรง และโครงสร้างที่มีความพรุนของถ่านชีวภาพเป็นที่อยู่อาศัย
               ของจุลินทรีย์ที่ดีที่เป็นตัวยับยั้ง นอกจากนี้ ถ่านชีวภาพยังเป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตให้ธาตุอาหาร

               และปรับปรุงการละลายของธาตุอาหาร และการดูดใช้ และการดูดซับของถ่านชีวภาพอาจทำให้เกิด
               การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนย้ายหรือกิจกรรมของเชื้อโรคพืชหรือดัดแปลงสัญญาณระหว่างโรคพืชและ

               พืช  (Lehmann et al., 2011)

                       มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นผลของถ่านชีวภาพในด้านบวกต่อจุลินทรีย์เนื่องจาก
               โครงสร้างมีรูพรุน มีพื้นที่จำเพาะสูง (specific surface area) และความสามารถในการดูดซับ การที่

               ถ่านชีวภาพมีขนาดรูพรุนที่หลากหลายทำให้เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกัน (Thies et al.,

               2015) ซึ่ง Warnock et al. (2007) ได้รายงานว่า รูพรุนของถ่านชีวภาพเปรียบเสมือนเป็นพื้นที่
               ป้องกันอันตรายจากศัตรูธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเพียงเล็กน้อยที่แสดงถึงผลของถ่าน

               ชีวภาพต่อสัตว์ในดินซึ่งมีความสำคัญในกระบวนของระบบนิเวศดินและการเคลื่อนย้ายและการย่อย
               สลายของถ่านชีวภาพ (Ameloot et al., 2013) บางงานวิจัยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างถ่าน

               ชีวภาพและไส้เดือนดินถึงลักษณะการกินของไส้เดือนเมื่อได้รับถ่านชีวภาพโดยตรง (Topoliantz and

               Ponge, 2005) Abel et al. (2013) ได้แบ่งผลของถ่านชีวภาพต่อไส้เดือนดินออกเป็นด้านบวก
               (positive) และด้านลบ (negative) เนื่องจาก 1) ผลกระทบจากลักษณะของถ่านชีวภาพ และ

               2) ผลทางอ้อม เช่น pH และการหมุนเวียนน้ำของที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน Tammeorg et al.
               (2014) ได้ทำการทดสอบการหลีกเลี่ยงถ่านชีวภาพของไส้เดือนดินโดยพบว่า ถ่านชีวภาพจากไม้

               เนื้ออ่อนมีผลทำให้ไส้เดือนดินหลีกเลี่ยงเมื่อ 14 วัน ใน Hagner et al. (2016) พบว่าไส้เดือนดินมีการ
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51