Page 39 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
7
1) โคก พื้นที่สูงในลักษณะภูเขาเป็นโคกโดยธรรมชาติ จึงเน้นการปลูก “ป่า
3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เพื่อช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศ แต่เนื่องจากพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น จึงต้อง
เพิ่มความชุ่มชื้นให้กลับคืนมาด้วยการสูบน้ำจากร่องเขามาที่บ่อเก็บน้ำ และกระจายผ่านลำเหมืองให้ทั่วพื้นที่
“เขาหัวจุก”
2) หนอง เกิดจากการกักน้ำไว้ในร่องเขาให้เพิ่มระดับสูงขึ้นด้วยการทำฝายชะลอ
น้ำ บ่อเก็บน้ำ สร้างบ่อเก็บน้ำไว้บนที่สูง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เช่น ไม้ไผ่ ทำบ่อโครงไม้ไผ่ฉาบ
ปูน สูบน้ำจากฝายขึ้นบ่อด้วยพลังงานทดแทน เมื่อน้ำเกินปริมาณกักเก็บของบ่อ ปล่อยน้ำไหลลง
คลองไส้ไก่ หรือ “ลำเหมือง” ซึ่งขุดไล่ตามระดับชั้นความสูงของพื้นที่ เพื่อกระจายความชุ่มชื้น
3) นา ทำนาขั้นบันได ยกหัวคันนาสูงและกว้าง เพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ใน
ท้องนา และปลูกแฝกชะลอการพังทลายของดิน ทำนาน้ำลึกเป็นนาอินทรีย์โดยการใช้น้ำควบคุมวัชพืช
และเร่งระดับความสูงของต้นข้าว เพิ่มผลผลิต
1.4.2 ศักยภาพการกักเก็บน้ำในดินเพื่อการผลิตทางการเกษตรภายใต้โครงสร้างดิน เนื้อดิน
และปริมาณคาร์บอนในดินที่แตกต่างกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายตัวของเนื้อดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับความชื้น
ในดิน ระบุว่าเมื่อพิจารณาลักษณะการจัดเรียงตัวของเนื้อดินและสิ่งแปลกปลอมภายในหน้าตัดดิน
จะเห็นว่ามีผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตพืช การจัดเรียงตัวของชั้นดินบนและดินล่าง
ดังกล่าว บ่งชี้ถึงปัญหาดินสำหรับการปลูกพืชในพื้นที่ เช่น ดินทรายจัดที่มีชั้นหนามาก อย่างชุดดิน
บ้านไผ่ ซึ่งถูกจำแนกดินตามระบบอนุกรมวิธานดิน อยู่ในกลุ่มดินย่อย Arenic โดยมีชั้นของดินทราย
ปนดินร่วน (ls) หนามากกว่า 50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นดินที่มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและ
การอุ้มน้ำในดินได้ต่ำ ประกอบกับยังมีการระบายน้ำดีมาก จึงส่งผลให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์นั้น
สูญเสียไปจากชั้นรากพืชได้ง่ายโดยผ่าน การชะล้าง (leaching) และในกรณีที่มีการจัดเรียงตัวของเนื้อ
ดินที่มีสิ่งแปลกปลอมโดยในที่นี้แสดงตัวอย่างของ “ดินตื้น” ซึ่งในพื้นที่นี้เป็นเนื้อดินร่วน (l, cl) ถึงชั้น
เนื้อดินที่มีลูกรัง กรวด เศษหินปะปนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35-60 โดยปริมาตร ภายในความลึก
50 เซนติเมตร จากผิวดิน หรือบางพื้นที่พบชั้นหินพื้น (bed rock) ภายใน 50 เซนติเมตร จากผิวดิน
ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชลงไปหาอาหาร นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นดิน
น้อย ทำให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารและอุ้มน้ำต่ำมาก พืชจะขาดน้ำและทำให้เหี่ยวเฉา
ไวกว่าพื้นที่อื่น
จากผลการศึกษาความชื้นในดินที่ระดับความจุความชื้นสนาม (FC) จุดเหี่ยวถาวร (PWP)
และความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ (AWC) ต่อพืชในแต่ละเนื้อดิน พบว่า ปริมาณความชื้นที่ระดับ
ต่างๆ แตกต่างกันตามประเภทของเนื้อดิน จะเห็นว่า ความชื้นที่ระดับ FC ในดินโดยทั่วไปมีค่าอยู่
ในช่วงร้อยละ 0.6 - 61.7 โดยน้ำหนัก ซึ่งเนื้อดินเหนียว (c) และดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 32-34 โดยน้ำหนัก รองลงมาคือ ดินร่วนปนดินเหนียว (cl) ดินร่วนเหนียว
ปนทรายแป้ง (sic) และดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 26 - 29 โดยน้ำหนัก