Page 40 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                        8


               ส่วนดินทราย (s) และดินทรายปนดินร่วน (ls) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในช่วงร้อยละ 0.6 - 7.4 โดยน้ำหนัก

               และเมื่อพิจารณาความชื้นที่ระดับ PWP จะเห็นว่า โดยทั่วไปมีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 0.49 - 35.5 โดย
               น้ำหนัก  โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในเนื้อดินเหนียว (c) และดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) เท่ากับร้อยละ

               21.2 และ19.7 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในดินทราย (s) และดินทรายปนดินร่วน

               (ls) โดยเมื่อพิจารณาช่วงความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ (AWC) ในแต่ละเนื้อดิน จะเห็นว่า ดินมีค่า
               AWC อยู่ในช่วงร้อยละ 0.1 - 34 โดยน้ำหนัก โดยดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) ดินร่วนปนดินเหนียว (cl)

               ดินเหนียว (c) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) ดินร่วนหนียวปนทรายแป้ง (sicl) มีค่า AWC โดยเฉลี่ยสูง

               อยู่ในช่วงร้อยละ 12.3 - 15 โดยน้ำหนัก ในขณะดินที่มีเนื้อดินทราย (s) ดินทรายปนดินร่วน (ls) และ
               ดินเหนียวปนทราย (sc) มีค่า AWC โดยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในช่วงร้อยละ 1.9 - 4.5 โดยน้ำหนัก

                         ปริมาณอนุภาคขนาดทรายมีสหสัมพันธ์สูงในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่า FC

               (r= -0.858**) ดังแสดงในตารางที่ 5 ซึ่งชี้ว่า ดินที่มีสัดส่วนของปริมาณอนุภาคขนาดทรายที่เพิ่มสูงขึ้น
               ซึ่งมีขนาดใหญ่ (2-0.05 มิลลิเมตร) ส่งผลให้ดินมีความชื้นที่ระดับ FC ลดลง ในขณะที่เมื่อพิจารณาถึง

               อนุภาคที่มีขนาดเล็กลง (<0.05 มิลลิเมตร) คือ อนุภาคขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)
               ส่งผลให้ดินมีค่า FC สูงขึ้น เห็นได้จากสหสัมพันธ์สูงในทางบวกกับค่า FC (r= 0.595**- 0.854**)

               ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณอนุภาคขนาดเล็กมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นและสัมพันธ์ไปกับสัดส่วน

               ของช่องว่างในดินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำหน้าที่เสมือนแหล่งกักเก็บน้ำในดินซึ่งเมื่อพิจารณาความชื้นที่ระดับ
               FC น้ำจะอยู่ในช่องว่างในดินที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 8.4 ไมโครเมตร (คณาจารย์ปฐพีวิทยา

               , 2544) และในดินทรายทั่วไปที่มีปริมาณขนาดอนุภาคขนาดทรายสูงนั้นมีช่องว่างขนาดดังกล่าวต่ำ
               กว่าร้อยละ 5 ของปริมาณช่องว่างทั้งหมด ในขณะที่ดินเหนียวมีสัดส่วนร้อยละ 3-26 ของปริมาณ

               ช่องว่างทั้งหมด (Warrick, 2002) ดังนั้น จึงทำให้ดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวและทรายแป้ง

               มีความสามารถในการกักเก็บน้ำในดินสูงกว่าเมื่อเทียบกับดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายสูง  เมื่อ
               พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอนุภาคขนาดดินกับความชื้นที่ระดับ PWP พบว่า มี

               ความสัมพันธ์เช่นเดียวกับค่า FC โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงในทางบวกระหว่าง PWP กับ

               ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว (r= 0.898**) ทรายแป้ง (r= 0.502**)  และพบสหสัมพันธ์ในทางลบ
               กับปริมาณอนุภาคขนาดทราย (r= -0.84**)  ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำในดินหรือความชื้นที่ PWP จะถูกเก็บ

               กักอยู่ในช่องว่างในดินที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 0.2 ไมโครเมตร (คณาจารย์ปฐพีวิทยา,
               2544) ที่เรียกว่า “hygroscopic water” โดยน้ำจะเกาะอยู่เป็นฟิล์มบางๆ รอบอนุภาคดินซึ่งพื้นที่ผิว

               จำเพาะ มีความสัมพันธ์สูงในทางบวกกับน้ำในสถานะนี้ (Gardner, 1968) โดยเมื่อพื้นที่ผิว (surface

               fraction dimension) เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณความชื้นที่ระดับ PWP มีค่าเพิ่มขึ้น (Ghanbarian-Alavijeh
                                                                                    6
               and Millán, 2009) โดยพื้นที่ผิวจำเพาะของอนุภาคขนาดดินเหนียวมีค่าสูงสุดถึง 8×10  ตารางเซนติเมตร
               ต่อกรัม ในขณะที่อนุภาคขนาดทรายแป้งและทรายมีพื้นที่ผิวเท่ากับ 454 และ11-227 ตารางเซนติเมตร
               ต่อกรัม ตามลำดับ (มัตติกา, 2552)
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45