Page 35 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
3
การคำนวณการบำบัดน้ำเสีย โดยน้ำที่ได้มาในแต่ละรอบจะต้องนำไปวางแผนการผลิต ทั้งในเรื่องของ
การปรับปรุงดินและการผลิตอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภค (พิเชฐ, 2562) ซึ่งการจัดการพื้นที่ที่กรม
พัฒนาที่ดินให้การสนับสนุนและโคก หนอง นา โมเดล ล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มพื้นที่การกักเก็บน้ำในดิน
ระบบแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และระบบนิเวศ โดยควรส่งเสริมให้ชุมชน
เข้ามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และระบบนิเวศ การจัดการดินที่เหมาะสมกับ
สภาพพื้นที่และการผลิตทางการเกษตร เช่น การคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้วัสดุ
อินทรีย์ลงไปในดิน ตลอดจนการใช้ถ่านชีวภาพในระบบเกษตรโดยเฉพาะดินที่มีการระบายน้ำดี
ซึ่งถ่านมีคุณสมบัติในการกักเก็บความชื้นในดิน (เสาวคนธ์ และศศิธร, 2554) ช่วยดูดซับธาตุอาหารใน
ดิน และความชื้นในดิน และโครงสร้างของถ่านที่มีรูพรุนอยู่จำนวนมากทำให้มีบทบาทสำคัญในการ
เพิ่มความจุในการอุ้มน้ำของดิน อีกทั้ง เป็นที่อยู่อาศัยของรากพืช และจุลินทรีย์ในดิน ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่
การเพิ่มประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำในดินและผิวดิน และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการ
ผลิตทางการเกษตร เพื่อมีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่เพื่อวางแผนการเพาะปลูก
ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ระบบน้ำหยด และระบบการผลิตแบบเปียกสลับแห้ง
ปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ภัยแล้ง เกษตรกรหรือชุมชนในจังหวัดต่างๆ ของภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเกิดการตื่นตัว มีความตระหนัก และให้ความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ
ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม “บริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก”
และ โคก หนอง นา โมเดล เป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีเกษตรกรบางกลุ่มที่ไม่รอคอยการดำเนินการจาก
ภาครัฐอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรบางกลุ่ม ยังมองว่า ยังขาดความเข้าใจและความเชื่อมั่น
ว่าสามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ตัวเองได้จริง ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลประจักษ์ด้านปริมาณและ
คุณภาพการกักเก็บน้ำภายใต้การจัดการพื้นที่ในรูปแบบดังกล่าวและให้สามารถขยายผล และเกิดการ
พัฒนาต่อยอดในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบรรเทาความรุนแรงจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับ
เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในเชิงพื้นที่โดยมีเกษตรกรเจ้าของพื้นที่หรือ
กลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมเพื่อผลักดันให้มีการปรับประยุกต์ใช้ได้จริง จากประเด็นดังกล่าว เพื่อลด
ความเสี่ยงของปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่น
ให้กับเกษตรกรได้นำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง การศึกษาและติดตามปริมาณการกักเก็บน้ำในพื้นที่
เกษตรกรรมอย่างจริงจังจะทำให้สามารถบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมี
ประสิทธิภาพดังนั้น เพื่อรองรับและปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่ต่อสภาวะภัยแล้งอย่างยั่งยืนด้วยการ
จัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องศึกษาวิจัยเชิงระบบในระดับ
พื้นที่ โดยมุ่งเน้นศึกษาจุดแข็งและลดความอ่อนไหวต่อสภาวะภัยแล้งของพื้นที่โดยติดตามและ
ประเมินหรือคาดการณ์สถานภาพน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการ
ดินและน้ำร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านในการเพิ่มพื้นที่การกักเก็บน้ำและประสิทธิภาพการใช้น้ำ มีความ
คุ้มค่าทางเศรษฐกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ถูกต้องและหลากหลายก่อให้เกิดความหลากหลาย