Page 34 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                        2


               เกี่ยวกับศักยภาพของการเก็บน้ำในดิน ประสิทธิภาพการใช้น้ำ และการจัดการดินสำหรับพืชปลูกใน

               ดินมีความสำคัญอย่างมากที่ไม่ควรละเลยซึ่งสะท้อนถึงความยืดยาวในการกักเก็บน้ำไว้ในดิน และ
               การใช้ประโยชน์ของน้ำในดินของพืชโดยเฉพาะช่วงสภาวะขาดแคลนน้ำ  อีกทั้ง สภาพดินที่มีปัญหา

               ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ยิ่งมีความสามารถในการกักเก็บน้ำในดินต่างกันซึ่งควรได้รับการพิจารณา

               การบริหารจัดการโดยเร่งด่วน
                      ปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นซ้ำซากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้มี

               ข้อจำกัดในการทำการเกษตรของเกษตรกร ผลผลิตค่อนข้างต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญของรายได้ต่ำกว่า

               เกษตรกรในภูมิภาคอื่นๆ เกือบเท่าตัว และอยู่ในสภาพที่ยากจน จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “ความยากจน
               ซ้ำซาก เพราะแล้งซ้ำซาก” ก่อให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นไปหางานทำในพื้นที่ต่างๆ มีสภาพครอบครัว

               และคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี  ที่ผ่านมา กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการโครงการสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอก

               เขตชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดยมีความมุ่งมั่นจัดหาแหล่งน้ำให้เกษตรกรที่อาศัย
               น้ำฝนและน้ำจากแหล่งธรรมชาติเป็นหลักสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ทางเกษตร และสามารถ

               ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้โดยลดภาวะการขาดแคลนน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพ
               การใช้น้ำในพื้นที่เกษตรให้ดียิ่งขึ้น แต่ยังมีความแปรปรวนในรูปแบบที่ไม่แน่นอนของปริมาณน้ำ

               โดยเฉพาะตลอดในช่วงเพาะปลูกซึ่งทำให้คาดการณ์สถานภาพของแหล่งน้ำและความชื้นในดินได้

               ลำบากซึ่งเกิดปัญหาต่อเกษตรกรในการวางแผนคัดเลือกพืชปลูกไม่ค่อยเหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่
               และกรมพัฒนาที่ดินได้ผลักดัน 2) โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก

               ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อรองรับปัญหาภัยแล้ง  โดยมีการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตร
               ผสมผสานและให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ความต้องการของตลาดบนพื้นที่ฐานของความสมัครใจ

               ของเกษตรกร  ซึ่งมีการเพิ่มพื้นที่รับน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมในหลายรูปแบบ เกษตรกรในพื้นที่มีความ

               สนใจในโครงการทั้งสองอย่างมาก  นอกจากนี้ เกษตรกรในภาคนี้ยังมีความสนใจในการจัดการพื้นที่
               อีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นโมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและ

               มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติได้น้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

               และเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร โดยมุ่งหวังที่จะสร้างจุดเปลี่ยน
               ให้กับชุมชน ซึ่งแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 โดย 30% แรกสำหรับแหล่งน้ำ ทั้งการขุดบ่อ

               ทำหนองและการขุดคลองไส้ไก่ที่ช่วยระบายน้ำรอบพื้นที่ อีก 30 % สำหรับปลูกข้าว และอีก 30%
               สำหรับไว้ทำโคกหรือป่า โดยปลูกผักไว้เป็นอาหาร ปลูกไม้ใช้สอย ปลูกยาสมุนไพร ส่วน 10% ที่เหลือ

               สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งหากลงมือทำลักษณะเช่นนี้ในหลายๆ จุดของประเทศ

               โคก หนอง นา โมเดล ก็จะช่วยได้มากกว่าการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เพราะจะช่วย
               แก้ปัญหาโลกร้อนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ซึ่งหลักคิดในเรื่องนี้มาปรับใช้ ซึ่งไม่เพียงจะทำให้

               มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีและไม่ต้องประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว ยังช่วยลดปริมาณน้ำหลากที่จะเข้าท่วมพื้นที่
               ต่าง ๆ และลดการเกิดตะกอนดินทับถม เพราะมีพื้นที่กักเก็บน้ำเพียงพอและมีต้นไม้คอยดูดซับน้ำลงสู่

               ใต้ดิน โคก หนอง นา โมเดล จึงใช้ลักษณะของการคำนวณการระเหยของน้ำ การคำนวณการใช้น้ำ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39