Page 36 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
4
ทางชีวภาพ และเกษตรกรคุณภาพชีวิตดีขึ้น นำไปสู่การบรรเทาและปรับตัวภายใต้จากสภาวะภัยแล้ง
และสถานการณ์ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาติดตามและประเมินสถานภาพน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมในพื้นที่มีการจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
ประเด็นของการศึกษาครั้งนี้เกิดจากการอภิปรายร่วมกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่
ประสบปัญหาภัยแล้งซึ่งได้รับผลกระทบในแง่ของการขาดแคลนน้ำและปัญหาการผลิตพืช ซึ่งใน
ปัจจุบันเกษตรกรได้ให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องของการจัดการพื้นที่เพื่อทำการเกษตรผสมผสาน
ทั้งตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่หรืออีกชื่อที่ทราบกันในกลุ่มเกษตรกรคือ โคก หนอง นา โมเดล
และโครงการการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นการทำเกษตรผสมผสานโดยกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งทั้ง
2 โครงการ เกษตรกรมีความสนใจและอยากเข้าร่วมโครงการ เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ตนเอง
แต่เกษตรกรยังเกิดความสงสัยในความเชื่อมั่นของการทำกิจกรรมต่างๆ วิธีการทำ และผลที่ได้รับ
ทีมวิจัยได้เล็งเห็นประเด็นข้างต้นเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีสร้างความเข้าใจกับผลที่คาดว่าจะ
เกิดขึ้น ซึ่งผลที่ได้จากโครงการทั้งสองเป็นการจัดการพื้นที่ที่ตอบโจทย์เกษตรกรว่าสามารถแก้ไข
สภาพปัญหาให้ผ่านภัยแล้งไปได้โดยเกิดผลกระทบน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ตนเอง จึงทำการศึกษาประเด็นนี้โดย
ประชุมชี้แจงและหารือทีมวิจัยและเกษตรกรในพื้นที่ มุ่งเน้นเพื่อวิเคราะห์ประเด็นความอ่อนไหวของ
พื้นที่ต่อภัยแล้ง และจุดแข็งของการจัดการพื้นที่ทั้ง 2 แบบ (โคก หนอง นา โมเดล และโครงการการ
ปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นการทำเกษตรผสมผสาน) ดังกล่าวต่อสถานการณ์ภัยแล้ง พิจารณา
ประเด็นการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดที่สะท้อนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในสภาวะภัยแล้ง ประกอบด้วย
พื้นที่รองรับการกักเก็บน้ำในระบบทั้งแหล่งน้ำ ในดิน นาข้าว ความหลากหลายทางชีวภาพ
การทำการเกษตร สภาวะเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการดินและ
น้ำร่วมกับภูมิปัญญาของเกษตรกรเองเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพทางการเกษตร
เช่น การใช้ถ่านชีวภาพเพื่อเพิ่มความยึดยาวของการเก็บกักน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ การคาดการณ์และ
วางแผนการใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภายในระบบในสภาวะแล้งซ้ำซาก การศึกษานี้
เกษตรกรในพื้นที่จะมีบทบาทอย่างมากในการร่วมศึกษาทุกกระบวนการเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง
โดยกำหนดพื้นที่และเกษตรกรในแต่จังหวัดซึ่งมีปัจจัยทางธรรมชาติและกายภาพต่างกันของจังหวัด
ขอนแก่น ชัยภูมิ และมุกดาหาร โดยแบ่งเป็น 2 พื้นที่ ประกอบด้วย 1) พื้นที่มีการจัดการตามแบบ
โคก หนอง นา โมเดล และ 2) พื้นที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรผสมผสาน ศึกษา