Page 31 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ภ
การกำหนดเขตเหมาะสมใน ใช้ข้อมูลทางวิชาการในการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ โดย
การปลูกพืช ปศุสัตว์ และ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลภูมิอากาศ ดิน น้ำ
ประมง สภาพแวดล้อมด้านต่าง ๆ นำมาประกอบกับข้อมูลความ
ต้องการในการผลิตพืช ปศุสัตว์ ประมงในแต่ละชนิด รวมทั้ง
วิเคราะห์ร่วมกับความต้องการของตลาด เพื่อหาความ
เหมาะสมของการทำการเกษตรในแต่ละพื้นที่ ที่ทำให้เกิด
ประสิทธิภาพในการผลิตสูง ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีผลกำไรที่สูง
กว่าการทำเกษตรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยรัฐบาลมีมาตรการ
สนับสนุน สร้างแรงจูงใจ โดยให้ข้อมูลและคำแนะนำทาง
วิชาการแก่เกษตร
พื้นที่ทำการเกษตรไม่ พื้นที่ทำการผลิตสินค้าเกษตรและได้ผลผลิต ผลตอบแทนไม่
เหมาะสม คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากที่ดินมีข้อจำกัดที่ไม่เหมาะสมต่อ
ความต้องการของพืชชนิดนั้น เช่น น้ำไม่เพียงพอต่อการ
เจริญเติบโต ดินตื้นส่งผลให้ระบบรากพืชไม่สามารถหาอาหาร
ได้และดินปัญหาต่าง ๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม เป็นต้น ในทาง
ปฏิบัติหากเกษตรกรสามารถแก้ข้อจำกัดที่ส่งผลต่อการ
เจริญเติบโตของพืชได้จะสามารถทำการเกษตรได้ผลผลิตที่
สูงขึ้นได้ เช่น มีการบริหารจัดการน้ำ การเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
การทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น แต่บางพื้นที่จำเป็นต้อง
มีการลงทุนสูง ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อแก้
ข้อจำกัดเหล่านี้ วิธีการหนึ่งที่เหมาะสมและลงทุนต่ำในการ
แก้ปัญหา คือการปรับเปลี่ยนชนิดพืชหรือทำการเกษตรอื่นที่มี
ความเหมาะสมกับพื้นที่
พื้นที่ดำเนินการปรับเปลี่ยน พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) และพื้นที่
การผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม การผลิตที่มีผลตอบแทนต่ำ หรือพื้นที่ตามความเห็นของ
คณะทำงานในพื้นที่ (สำหรับกรณีบางพื้นที่ไม่เหมาะสม
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแต่อยู่ในพื้นที่เหมาะสมทาง
กายภาพ ให้คณะทำงานในพื้นที่ ตรวจสอบระดับความ
เหมาะสมของที่ดินทางกายภาพอีกครั้ง หากพบว่าอยู่ในระดับ
ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนได้)
ความหลากหลายทางชีวภาพ การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่ง
ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือ การที่มี