Page 33 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                1


                                                             บทที่ 1


                                                             บทนำ



                       1.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหา

                              สถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทยนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น กรมพัฒนาที่ดิน

                       รายงานว่า มีพื้นที่แล้งซ้ำซากครอบคลุมประมาณ 56 ล้านไร่ กระจายในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ
                       โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความรุนแรงการเกิดภัยแล้งซ้ำซากมากกว่า 4 ครั้งในรอบ 10 ปี

                       ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 16 ล้านไร่ (ข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน)  ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาค

                       เกษตรกรรมซึ่งอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก  บางพื้นที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ น้ำไม่เพียงพอ
                       ต่อการเจริญเติบโตของพืช  บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกมากแต่สามารถกักเก็บน้ำได้น้อยเนื่องจากพื้นที่

                       สำรองกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ ชัยยุทธ และคณะ (2559) รายงานว่า มีพื้นที่การเกษตรและเกษตรกร
                       จำนวนมาก แต่มีข้อจำกัดด้านสภาพทางภูมิศาสตร์จึงไม่สามารถสร้างอ่างเก็บกักน้ำขนาดใหญ่

                       ประกอบกับทรัพยากรดินเป็นดินเค็มและคุณภาพดินต่ำ มีบริเวณกว้างทำให้ผลผลิตด้านการเกษตร

                       ค่อนข้างต่ำ บางพื้นที่บริเวณแถบจังหวัดริมแม่น้ำโขงมีปริมาณฝนมากแต่มีแหล่งเก็บกักน้ำน้อย
                       ขณะที่พื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชีมีลักษณะภูมิประเทศที่สามารถก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำได้

                       แต่มีปริมาณฝนน้อย  ส่วนพื้นที่ตอนกลางและตอนล่างของลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี เป็นพื้นที่ราบลุ่มประสบ

                       ปัญหาทั้งน้ำท่วมในฤดูฝน และขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วงในฤดูแล้ง
                              สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2562 ได้ส่งสัญญาณให้เห็นจากฤดูร้อนที่มาเร็วและนานกว่าทุกปี

                       ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและน้ำในแหล่งเก็บน้ำต่างๆ  สร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวนาปรัง
                       และอ้อยซึ่งเป็นพืชที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อออกสู่ตลาดจนอาจกระทบต่อรายได้เกษตรกร

                       เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ  ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมีการติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับ

                       ระยะเวลาและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนติดตามสภาพภูมิอากาศ  ระดับความ
                       รุนแรงของภัยแล้งซึ่งอาจไม่เท่ากันในแต่ละเดือน   ประกอบกับความแปรปรวนของการเปลี่ยนแปลง

                       ในสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate change) ไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                       ฤดูกาล และช่วงระยะเวลาในแต่ละฤดูกาล จำนวนวันที่มีฝนตกและปริมาณฝนไม่แน่นอนบางปีซึ่งมี

                       ปริมาณมากและน้อยไม่สม่ำเสมอ และมีแนวโน้มฝนทิ้งช่วงในระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้น   ปริมาณ

                       น้ำที่ไหลลงสู่พื้นที่เกษตรกรรมจะแปรผันตามปริมาณฝนที่ตกในบริเวณนั้นๆ และตามฤดูกาล คือ
                       ในช่วงฤดูฝนปริมาณน้ำจะมีมาก ส่วนในช่วงฤดูแล้งจะไม่มีปริมาณน้ำฝนเข้ามาเติมในพื้นที่ แต่หาก

                       พื้นที่นั้นมีการขุดบ่อ หนอง หรือคลอง ก็จะสามารถเก็บกักน้ำในพื้นที่ได้เพิ่มขึ้นช่วงฤดูฝน แต่ปริมาณ

                       น้ำที่มีอยู่จะเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ปริมาณฝน พื้นที่
                       กักเก็บน้ำ ปริมาณการใช้น้ำ คุณสมบัติของดิน และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เป็นต้น  นอกจากนี้

                       ลักษณะและสมบัติดินในแต่ละประเภทโดยเฉพาะกลุ่มเนื้อดินทั้งหยาบและละเอียดมีความสัมพันธ์
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38