Page 29 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                        พ


                                                    น้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้

                                                    ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
                        นา                          พื้นที่นา ใช้ปลูกข้าว โดยเฉพาะข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่ม

                                                    จากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ

                                                    หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนา
                                                    เพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

                                                    มีการยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำ
                                                    ท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

                        ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง  เป็นแนวคิดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อ

                                                    เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำควบคู่ไปกับการหล่อ
                                                    เลี้ยงความต้องการด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ป่าใช้กิน เช่น

                                                    แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง และกล้วย เป็นต้น ป่า
                                                    ใช้สอย เช่น มะคำดีควาย หวาย และไผ่ เป็นต้น ป่าใช้อยู่ เช่น

                                                    ตะเคียนทอง ยางนา แดง สัก พะยูง และพยอม เป็นต้น

                        ป่า 5 ระดับ                 การปลูกไม้ 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ มีความหลากหลาย
                                                    ของต้นไม้ ทั้งชนิดพันธุ์ ช่วงอายุ ลักษณะนิสัยและขนาดความ

                                                    สูง โดยแบ่งเป็นประเภทของต้นไม้ตามระดับช่วงความสูงและ

                                                    ระบบนิเวศได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ ไม้สูง ไม้กลาง ไม้เตี้ย ไม้
                                                    เลื้อยเรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน

                        ไม้สูง                      กลุ่มต้นไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง
                                                    รัง ประดู่ มะฮอกกานี ฯลฯ

                        ไม้กลาง                     กลุ่มต้นไม้ที่มีความสูงไม่มากนัก บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น

                                                    มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
                        ไม้เตี้ย                    กลุ่มต้นไม้พุ่มเตี้ย พวกพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ กระ

                                                    เพรา ผักหวานบ้าน ถั่ว แค ฯลฯ
                        ไม้เลื้อยเรี่ยดิน           กลุ่มตระกูลไม้เลื้อยต่างๆ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง ฯลฯ

                        ไม้หัวใต้ดิน                พืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น ขิง ข่า มันมือเสือ บุก กวาวเครือ เผือก

                                                    แครอท เป็นต้น
                        การห่มดิน                   การป้องกันการระเหยของความชื้นในดิน และกระตุ้นการ

                                                    ทำงานของจุลินทรีย์ในดิน โดยใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้

                                                    และหาได้ง่ายในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว ใบหญ้า เศษใบไม้ นำมา
                                                    คลุมหน้าดินไว้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34