Page 28 - การศึกษาการพัฒนาการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                 ฝ


                                                นิยามศัพท์เฉพาะ



                ภัยแล้ง                      ภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำเป็นระยะ

                                             เวลานานเป็นเดือนๆ หรือเป็นปี โดยทั่วไปเกิดขึ้นเมื่อพื้นที่ที่
                                             ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอเกิดฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เกิดผล

                                             กระทบอย่างมากต่อการดำรงชีวิต การเกษตร และระบบนิเวศ
                                             ในพื้นที่เกิดภัย

                หลักการออกแบบตามหลัก         การออกแบบที่ยึดหลักสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศ

                ภูมิสังคม                    ด้านกายภาพ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ (แสง) พืช รวมกับด้านสังคม
                                             คือ คน วัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิมพื้นถิ่นนั้น

                โคก หนอง นา โมเดล            การจัดการพื้นที่การเกษตร โดยผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่กับ
                                             ภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่คำที่ชาวบ้านเข้าใจง่าย คือ “โคก หนอง

                                             นา” โดยยึดหลักว่าดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บน

                                             โคกให้ปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทาง
                                             พระราชดำริของรัชกาลที่ 9 โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติ

                                             จัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็ว

                                             ขึ้น อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และเป็นที่อยู่
                                             อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

                โคก                          พื้นที่สูง ที่เกิดจากการขุดดินทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บน

                                             โคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทาง
                                             พระราชดำริใช้ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

                                             ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้น
                                             พื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา

                                             ค้าขาย
                หนอง                         หนองน้ำหรือแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง

                                             เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำ

                                             ยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) มีการขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลอง
                                             ระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยว

                                             ไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลด

                                             พลังงานในการรดน้ำต้นไม้ รวมถึงเป็นแหล่งจัดทำ ฝายทดน้ำ
                                             เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่

                                             โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และ

                                             คลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง พัฒนาแหล่ง
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33