Page 8 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 8
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผลงานเรื่องที่ 1 : โครงการส่งเสริมศักยภาพหมอดินอาสา
เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย
รูปแบบ/ลักษณะ/Concept ของผลงาน ทรัพยากรดินและที่ดินทางการเกษตรของประเทศไทยเกิดความ
เสื่อมโทรมจากการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ส่งผลต่อรายได้และความอยู่ดีกิน
ดีของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการจัดการที่ดินและต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ
พด. เล็งเห็นว่า การเห็นต้นแบบของคนในชุมชนด้วยกันเองจะเป็นการเรียนรู้ที่ดีและให้บริการได้ทั่วถึง จึงได้
พัฒนา “หมอดินอาสา” ในปี 2538 ปัจจุบันมีหมอดินอาสาทั่วประเทศจำนวน 77,690 คน ในระดับ
หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ในทุกๆ ปี หมอดินอาสาได้มาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
ร่วมกัน และต่อยอดความรู้ทางวิชาการ ร่วมทำ
แผน ปรับกระบวนทัศน์สู่การทำงานเชิงรุก
รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนำ
เทคโนโลยีดิจิทัล มาปรับใช้ในการบริการ
เกษตรกร จนกระทั่งเกิดเครือข่ายหมอดินอาสา
หลากหลายสาขา โดย พด. ได้จัดทำโครงการ
ส่งเสริมศักยภาพหมอดินอาสา ยกระดับหมอดิน
อาสาเป็นผู้นำพาอาหารปลอดภัยผ่านโครงการ
ต่างๆ ได้แก่ 1) การอบรมหมอดินอาสา 4.0 2)
โครงการนำร่องโรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ
3) การสนับสนุนการพัฒนาแปลงของหมอดิน
อาสาที่ได้รับรางวัลให้เป็นศูนย์ถ่ายทอด
เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินในโครงการพัฒนาหมอ
ดินอาสาดีเด่น 4) โครงการพัฒนาเกษตรกร
ปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ด้านการพัฒนา
ที่ดิน 5) โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลด
การใช้สารเคมีทางการเกษตร และ 6) โครงการ Zero Waste Village เป็นต้น พด. ยกย่องเชิดชูเกียรติหมอ
ดินอาสา ประกาศให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็น “วันหมอดินอาสา (LDD Volunteered Soil
Doctor Day)” จากการทุ่มเททำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ พด. สร้างบทบาทผู้นำการพัฒนาที่ดินเป็นที่ประจักษ์
และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ จน พด. ได้รับการขนานนามอีกชื่อหนึ่งว่า
“กรมหมอดิน” และ FAO โดย สมัชชาความร่วมมือดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้นำ
รูปแบบหมอดินอาสาประเทศไทย ไปขยายผลทั่วโลกในโครงการ Global Soil Doctors programme
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น หมอดินอาสาสามารถเป็นต้นแบบให้แก่ครอบครัวเกษตรกรทำ
การเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานการจัดการดินอย่างยั่งยืน เช่น การรวมกลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก การ
ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หรือการหมุนเวียนของเสียในชุมชนมาใช้ประโยชน์ ทำให้ต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมีลดลง
เกษตรกรพึ่งพาตนเองและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว จากการสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกร
และประชาชนทั่วไปต่อการบริการของพด. ในปี 2563 พบว่า 91.21% ของผู้รับบริการพอใจการบริการของ
หมอดินอาสา