Page 9 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 9
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผลงานเรื่องที่ 2 : โครงการ e-Service บริการตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร
เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย
รูปแบบ/ลักษณะ/ Concept ของผลงาน
การบริการตรวจสอบดินเป็นภารกิจหลักของ พด. ที่ให้บริการกับประชาชนเพื่อให้ทราบความอุดม
สมบูรณของดินในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการใช้ปัจจัยการผลิตปรับปรุงบำรุงดินให้
เหมาะสมกับดินและความต้องการของพืช การให้บริการตรวจสอบดินรูปแบบเดิมผู้ขอรับบริการต้อง
เดินทางมาติดต่อด้วยตนเอง ณ สำนักงาน ซึ่งมีขั้นตอนการยื่นเอกสารและรอคอยการตรวจสอบเอกสารและ
มีระยะเวลาในการวิเคราะห์ตัวอย่างซึ่งใช้เวลานาน ทำให้ได้ผลการวิเคราะห์ไม่ทันฤดูกาลเพาะปลูก
นอกจากนี้ยังไม่สามารถติดตามสถานะของตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์ และระบบบริหารจัดการยังไม่มีการ
เชื่อมโยงห้องปฏิบัติการทั้ง
ใ น ส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาคทั่วประเทศ 13
แห่ง พด. ได้เล็งเห็นปัญหา
ดังกล่าว ประกอบกับผล
การประเมินความพึงพอใจ
ของผู้รับบริการ พบว่า มี
ข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง
ด้านความความล่าช้าและ
ไม่มีความสะดวกในการรับ
บริการ พด. จึงวิเคราะห์
และปรับปรุงบริการร่วมกับ
สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) และกรมบัญชีกลาง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาการให้บริการรูปแบบ e-Service
แบบ fully digital ตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นขอรับบริการ การชำระเงิน (กรณีบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก) การติดตามสถานะ และการรับผลการวิเคราะห์ดิน ในขณะเดียวกันได้ปรับปรุง
ระบบบริหารจัดการ มีการเชื่อมโยงห้องปฏิบัติการ 13 แห่ง กระจายการบริการเพื่อให้สามารถรองรับ
ปริมาณตัวอย่างจำนวนมากได้ โดยผู้รับบริการสามารถขอรับบริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Service หรือ
สามารถดำเนินการผ่านระบบ Citizen Service Platform การให้บริการประชาชนบน Citizen Portal โดย
Application “ทางรัฐ” ส่งผลให้ลดระยะเวลาการให้บริการลงร้อยละ 64 และลดขั้นตอนการให้บริการร้อยละ 80
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น (1) เกษตรกรและผู้รับบริการเกิดความสะดวก รวดเร็วในการได้รับ
ผลวิเคราะห์ดิน สามารถจัดการดินและปุ๋ยได้ด้วยตนเอง ทันต่อฤดูกาลเพาะปลูก ตอบสนองความต้องการได้ตรง
กับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ช่วยลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายของผู้รับบริการ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และส่งผลให้
มีรายได้เพิ่มขึ้น (2) มีระบบบริการจัดการบริการวิเคราะห์ดินและการจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เมื่อ
ระบบรวบรวมข้อมูลเพียงพอยังสามารถประเมินคุณภาพดินได้โดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องส่งดินวิเคราะห์
เพียงแค่ระบุตำแหน่งแปลงของตนเองก็สามารถดูคำแนะนำการจัดการดินที่เหมาะสมได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่
สำคัญสำหรับการทำการเกษตร ง่ายต่อการจัดการ การติดตาม ทราบประวัติการเพาะปลูกเชื่อมโยงกับ
เกษตรกรที่ถือบัตรดินดี ทำให้ยกระดับเกษตรกรเป็น smart farmer (3) ทรัพยากรดินในพื้นที่เกษตรกรรมถูก
ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้คงความอุดมสมบูรณ์ได้อย่างยั่งยืน