Page 12 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                         ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น การดำเนินงานวางแผนการใช้ที่ดินระดับตำบลจะทำให้ได้
                  เครื่องมือสำหรับการพัฒนาที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้สำหรับ
                  พัฒนาพื้นที่วางแผนด้านการผลิต เมื่อมีการนำแผนการใช้ที่ดินไปปฏิบัติในพื้นที่ตามเขตการใช้ที่ดิน ทำให้

                  เกษตรกรสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการปลูกพืชเดิม และผลตอบแทนจะเพิ่มมากขึ้นในปีต่อไปเมื่อ
                  กิจกรรมดำเนินการได้ครบตามแผนงาน โดยมีการนำแผนงานหรือกิจกรรมตามแผนการใช้ที่ดินระดับตำบล
                  ไปปฏิบัติในพื้นที่อย่างเห็นผลลัพธ์

                  เป้าหมายต่อไปในอนาคต

                         พด. กำหนดทิศทางการพัฒนาที่ดินในช่วงปี 2566-2570 กำหนดวิสัยทัศน์ “เป็นองค์การอัจฉริยะ
                  ทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570” โดยจัดทำแผนปฏิบัติ
                  ราชการ ระยะ 5 ปี (2566-2570) โดยกำหนดประเด็นในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ใน 4
                  ประเด็น โดยในแต่ละประเด็นกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนา ดังนี้ ประเด็นที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพ

                  การใช้ที่ดินให้เหมาะสมด้วยระบบบริหารจัดการเชิงรุก มีเป้าหมายพื้นที่เกษตรกรรมมีการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินอย่างเหมาะสมตามศักยภาพตามแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทย ซึ่งจำแนกพื้นที่ตามศักยภาพของ
                  ทรัพยากรดินและที่ดินออกเป็น 3 เขต คือ เขตเกษตกรรมชั้นดี เขตเกษตรกรรมที่มีศักยภาพสูง และเขต
                  เกษตรกรรมที่มีศักยภาพต่ำ โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละเขต ดังนี้ 1) พัฒนา

                  ยกระดับ และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในพื้นที่เขตเกษตรกรรมชั้นดี 2) เพิ่มผลิตภาพและลดความเสื่อมโทรม
                  ของดินในเขตเกษตรกรรมศักยภาพสูง และ 3) พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเกษตรกรรมศักยภาพต่ำ
                  นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์สำหรับพื้นที่เฉพาะคือ กลยุทธ์ที่ 4) เพิ่มผลิตภาพและพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินใน
                  พื้นที่เฉพาะ ประเด็นที่ 2 บริหารจัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินด้วยชุดข้อมูลที่มีมูลค่าสูง (High

                  Value Dataset) มีเป้าหมายพื้นที่การเกษตรมีการนำชุดข้อมูลที่มีมูลค่าสูง (High Value Dataset) ไปใช้
                  ในการบริหารจัดการทางการเกษตร โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาใน 3 กลยุทธ์ คือ 1) บริหาร
                  จัดการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดินให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยพัฒนาชุดข้อมูลและ

                  เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานต่างๆ บน Platform มาตรฐาน 2) ยกระดับแผนการใช้ที่ดินไปสู่การปฏิบัติ ให้มี
                  การนำไปใช้ในระดับจังหวัด/ตำบล และ 3) สร้างเครือข่ายข้อมูลทรัพยากรดิน โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูล
                  ทรัพยากรดินอัจฉริยะ (Smart Soil Data Center) ประเด็นที่ 3 วิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมการ
                  พัฒนาที่ดินให้เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน มีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่ดินที่สนับสนุน
                  การเป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน โดยกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาใน 3 กลยุทธ์ คือ 1) สร้างและ

                  พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการพัฒนาที่ดิน 2) สร้างเครือข่าย และพัฒนาศักยภาพนักวิจัย สนับสนุน
                  เกษตรอัจฉริยะ และ 3) ส่งเสริมและขยายผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติ และประเด็นที่ 4 ยกระดับองค์การ
                  เข้าสู่ระบบราชการดิจิทัล มีเป้าหมายกรมพัฒนาที่ดินเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบราชการดิจิทัล โดยกำหนดกล

                  ยุทธ์และแนวทางการพัฒนาใน 2 กลยุทธ์ คือ 1) พัฒนาระบบราชการดิจิทัลของกรมพัฒนาที่ดิน โดย
                  ยกระดับการพัฒนาองค์การด้วยเครื่องมือ PMQA 4.0 เปลี่ยนผ่านองค์การเข้าสู่ดิจิทัลด้วยการวางผัง
                  องค์การ (EA) ปรับประบวนงาน (Reprocess) ในรูปแบบดิจิทัล (Digitalization)  และปรับโครงสร้าง
                  (Reorganizaton) 2) สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ สร้างวัฒนธรรม และ

                  สภาพแวดล้อม เพื่อรองรับการเป็นองค์การอัจฉริยะ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17