Page 10 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 10
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ผลงานเรื่องที่ 3 : AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี
เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย
รูปแบบ/ลักษณะ/ Concept ของผลงาน
การดำเนินงานดูแลทรัพยากรดินและส่งเสริมให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่
และศักยภาพของดินอย่างรู้คุณค่า พด. ได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการรวบรวมองค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการ
ข้อมูลเชิงพื้นที่ (GIS) จำนวนมาก เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าไปสืบค้นและนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจ
ประยุกต์ใช้สำหรับทำการเกษตร
ในพื้นที่ เนื่องด้วยแหล่งข้อมูล
และงานบริการต่างๆ ของ พด.
มีจำนวนมากและหลากหลาย
ถูกจัดเก็บกระจายอยู่ตามแหล่ง
ต่างๆ ทำให้ผู้รับบริการไม่ได้รับ
ความสะดวกในการเข้าถึง การ
ค้นหาข้อมูลมีความยุ่งยาก
ซับซ้อน หากผู้รับบริการมีข้อ
สงสัยต้องการติดต่อสอบถาม
ข้อมูลเพิ่มเติมจะส่งคำถามผ่าน
ช่องทาง Webboard หรือโทร
สอบถาม Call Center 1760 หรือทาง E-mail ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการตอบกลับ มีขั้นตอนติดต่อ
ประสานงานผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่หลายขั้นตอน ทำให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลล่าช้า อาจไม่ทันต่อการ
นำไปใช้ หรือต้องเดินทางไปติดต่อกับสำนักงานด้วยตนเองทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พด.
ได้ปรับบริการข้อมูลเพื่อตอบโจทย์และตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการ โดยพัฒนาระบบการ
โต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรายแปลง
หรือ AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี ซึ่งเป็นระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มี
การเรียนรู้แบบ Machine Learning โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลและเว็บแอปพลิเคชันอื่นๆ ผ่าน API
Service และ Web Map Service (WMS) รวบรวมเป็นชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบคำถามของผู้รับบริการ
และมีระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ (Back Office) ในการติดตามตรวจสอบ (Monitor) การตอบคำถามของ AI
Chatbot และสืบค้นข้อมูลประวัติการสนทนากับผู้รับบริการ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุงประสิทธิภาพของ
AI Chatbot
ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น (1) ผู้รับบริการ มีช่องทางในการติดต่อสอบถามข้อมูลและงาน
บริการกับกรมพัฒนาที่ดินเพิ่มขึ้นโดยผ่าน AI Chatbot : คุยกับน้องดินดี ที่ตอบคำถามผ่านโซเชียลมีเดีย
Line หรือ Facebook ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือ สามารถสนทนาสอบถาม
ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการให้บริการข้อมูล (2) ผู้รับบริการทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน ประชาชน สืบค้นข้อมูลงานบริการได้ด้วยตนเองและมีระบบให้ความช่วยเหลือกับผู้รับบริการ
รายบุคคล (Personalized Service) นำข้อมูลความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบการตัดสินใจและประยุกต์ใช้ในการ
ทำเกษตรในพื้นที่ให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่และศักยภาพของดิน ซึ่งจะเป็นการสร้างขีด
ความสามารถการแข่งขันของประเทศ