Page 6 - รายงานผลการดำเนินการพัฒนาองค์การสู่ระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี 2565 (Application Report 2022)
P. 6
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
แบบฟอร์มที่ 5
บทสรุปผู้บริหาร
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570
กรอบแนวคิด/ Concept ของการก้าวสู่การเป็นระบบราชการ 4.0
กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) กำหนดทิศทาง เพื่อพัฒนาองค์การให้เป็น Smart LDD ที่มุ่งเน้นประโยชน์และ
ความต้องการของประชาชนเป็นหลัก ปรับการทำงานเชิงรุก สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาที่ดิน
ให้เกิดความยั่งยืน นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนงาน เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
งานพัฒนาที่ดิน พด. ยกระดับ
การเพิ่มผลิตภาพ ด้วยหลัก 4
Smart ประกอบด้วย 1) Smart
Collaboration ดำเนินการ
สานพลังจากทุกภาคส่วน สร้าง
เครือข่ายความร่วมมือด้านดิน
ภายในและระหว่างประเทศ
ยกระดับการทํางานร่วมกับ
เครือข่ายไปสู่ “การร่วมมือกัน
(collaboration)” อย่างแท้จริง
โดยเฉพาะการยกระดับ
เครือข่ายหมอดินอาสา 2)
Smart Connection เปิดเผย
ข้อมูลทรัพยากรดินและ
เชื่อมโยงข้อมูล บูรณาการข้อมูลทรัพยากรดินและที่ดิน และพัฒนาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานใน
ระดับพื้นที่ 3) Smart Service ยกระดับ e-Service ให้เป็น full digital และการพัฒนาต่อยอดเพิ่ม
ประสิทธิภาพ AI Chatbot “คุยกับน้องดินดี” และ 4) Smart Operation การใช้เทคโนโลยีเพื่อการ
ปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ทั้งในงานวางแผนการใช้ที่ดิน สำรวจออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลเพื่อบริหารจัดการดินและน้ำอัจฉริยะ รวมทั้งการพัฒนาระบบงานและพัฒนาบุคลากรทุกระดับ
ผลการดำเนินงานที่สอดคล้องสู่ระบบราชการ 4.0
พด. มีภารกิจความรับผิดชอบพัฒนาทรัพยากรดินในพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 153 ล้านไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 46 ของพื้นที่ประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม ยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม พด. ใช้หลักการ Smart LDD ขับเคลื่อนและพัฒนาองค์การเข้าสู่
ระบบราชการ 4.0 สอดคล้องสนับสนุนการพัฒนาระบบราชการทั้ง 3 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 ภาครัฐที่เปิดกว้างเชื่อมโยงกัน (Open & Connected Government) พด. ดำเนินการสาน
พลังจากทุกภาคส่วนตามหลัก Smart Collaboration สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านดินภายในและระหว่าง
ประเทศ เช่น เครือข่ายระหว่างประเทศ การขับเคลื่อนสมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินแห่งภูมิภาคเอเชีย
(ASP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (CESRA) และเครือข่ายโครงการตัดสินใจแบบมีส่วน
ร่วมเพื่อการขับเคลื่อนและขยายผลการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน (Decision Support for Mainstreaming and