Page 67 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 67

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          57































                  ภาพที่ 20 แสดงระดับความรุนแรงของพื้นที่เสื่อมโทรม รายอำเภอ จังหวัดนครนายก

                  4.3 มาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดนครนายก

                         การกำหนดมาตรการต่างๆ ในการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมของที่ดิน โดยใช้เกณฑ์ในการ

                  พิจารณาจาก ดังนี้ 1) สาเหตุหรือปัจจัยตามตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมทั้ง 3 ตัวชี้วัด 2) ความต้องการของชุมชน
                  เกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 3) รูปแบบมาตรการด้านการจัดการความเสื่อม
                  โทรมของที่ดิน ตามมาตรฐานและหลักวิชาการ

                         จากการศึกษาในพื้นที่ พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดความเสื่อมโทรมมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้

                  ที่ดินจากพื้นที่เกษตรไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ การขยายของชุมชนเมือง การขยายเขต

                  อุตสาหกรรม ซึ่งเปลี่ยนจากพื้นที่เกษตรไปเป็นชุมชน และพื้นที่อุตสาหกรรม และอีกสาเหตุหนึ่งคือ การใช้ที่ดิน
                  ที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรมีการใช้ทำการเกษตรแบบเข้มข้นเป็นเวลานาน ขาดการบำรุง และ

                  ปรับปรุงรักษา ปัญหาทรัพยากรดินด้านการเกษตรที่สำคัญส่วนใหญ่ในจังหวัดนครนายก คือ ปัญหาดินเปรี้ยว

                  จัด ซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำผสมกับตะกอนทะเล ส่งผลให้ดินเป็นกรดจัดมากต่ำกว่า 4.5 มีความเป็นพิษของ
                  อะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์ ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส พื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมขัง

                  รองลงมา คือ ปัญหาดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ดังนั้น จึงสามารถจำแนกการกำหนดมาตรการการจัดการความ

                  เสื่อมโทรมของที่ดิน ได้ดังนี้
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72