Page 64 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          54









































                  ภาพที่ 18 แผนที่ตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน จังหวัดนครนายก ช่วงปี พ.ศ. 2552 – 2564


                  ที่มา : จากการวิเคราะห์และประเมินด้วยระบบสารภูมิสารสนเทศ
                        จากผลการวิเคราะห์และประเมินพื้นที่เสื่อมโทรมของจังหวัดนครนายก พบว่า พื้นที่เสื่อมโทรมส่วนใหญ่

                  พบกระจายตัวอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มของจังหวัด โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก พบว่ามีพื้นที่
                  เสื่อมโทรมมากที่สุด มีเนื้อที่เสื่อมโทรม 212,361 ไร่ รองลงมาได้แก่ อำเภอองครักษ์ มีเนื้อที่เสื่อมโทรม
                  173,747 ไร่ อำเภอปากพลี มีเนื้อที่เสื่อมโทรม 111,706 ไร่ และอำเภอบ้านนา มีเนื้อที่เสื่อมโทรม 80,031 ไร่

                  ตามลำดับ (ตารางที่ 19 และ ภาพที่ 19)

                        สาเหตุของความเสื่อมโทรมของที่ดินที่เกิดขึ้น จะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของแต่ละอำเภอ
                  โดยสาเหตุที่เกิดความเสื่อมโทรมของที่ดิน มาจาก 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ ความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นจาก

                  ธรรมชาติ เช่น เกิดจากต้นกำเนิดของดินเอง ภัยธรรมชาติต่างๆ และความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการกระทำของ
                  มนุษย์ โดยมีปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่ เช่น
                  การเพิ่มขึ้นของประชากร ความต้องการใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน มีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม การทำ

                  เกษตรอย่างเข้มข้น ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นต้น
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69