Page 71 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          61


                  500,914 หรือร้อยละ 37.77 ของเนื้อที่จังหวัด ทั้งนี้ในการบรรลุความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน

                  (Land Degradation Neutrality) ได้มีการนำหลักการของ LDN ผนวกเข้ากับการจัดทำตัวชี้วัดเป้าหมายการ
                  พัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2015-2030 (Sustainable Development Goals-SDG) เป้าประสงค์ที่ 15 ตัวชี้วัดที่

                  15.3.1 ซึ่งกำหนดว่า “สัดส่วนของพื้นที่ดินที่ได้รับความเสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด ดังนั้น สถานะความ

                  เสื่อมโทรมของที่ดิน (LDN baseline) จังหวัดนครนายก ณ ปีฐาน (2552-2564) มีสัดส่วนพื้นที่เสื่อมโทรมอยู่ร้อยละ

                  43.57 ของเนื้อที่จังหวัด เมื่อนำพื้นที่เสื่อมโทรมของจังหวัดนครนายก มาจัดระดับความรุนแรงของพื้นที่เสื่อม
                  โทรม เพื่อจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่จะกำหนดเป้าหมายในการป้องกัน และฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม โดยใช้

                  มาตรการต่างๆ  เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรที่ดิน นั้น พบว่า พื้นที่เสื่อมโทรมระดับรุนแรงมาก มีเนื้อที่

                  5,988  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.04 ของพื้นที่เสื่อมโทรม โดยพบอยู่ในอำเภอองครักษ์ มีเนื้อที่ 3,608 ไร่

                  รองลงมาคือ อำเภอเมืองนครนายก มีเนื้อที่ 1,706 ไร่ ตามลำดับ พื้นที่มีระดับความรุนแรงปานกลาง และ
                  ระดับความรุนแรงน้อย มีเนื้อที่ 84,051 และ 487,806 ไร่ ตามลำดับ และคิดเป็นร้อยละ 14.54 และ 84.42

                  ของพื้นที่เสื่อมโทรม ตามลำดับ (ตารางที่ 20 ตารางที่ 21) อย่างไรก็ตามจะ พบว่า พื้นที่เสื่อมโทรมของจังหวัด

                  นครนายก มีพื้นที่มีความเสื่อมโทรมระดับรุนแรงน้อยมีเนื้อที่มากที่สุด (ภาพที่ 20) คือ เป็นพื้นที่เสื่อมโทรมที่เกิด
                  จากตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมเพียงตัวชี้วัดเดียว นั่นคือ ความเสื่อมโทรมที่เกิดจากตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้

                  ที่ดิน หรือ ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดิน หรือ ตัวชี้วัดจากการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนอินทรีย์ที่สะสม

                  ในดิน เพียงตัวใดตัวหนึ่ง
                           การกำหนดมาตรการต่างๆ ในการป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมของที่ดิน โดยใช้เกณฑ์ในการ

                  พิจารณาจาก ดังนี้ 1) สาเหตุหรือปัจจัยตามตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมทั้ง 3 ตัวชี้วัด 2) ความต้องการของชุมชน
                  เกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และ 3) รูปแบบมาตรการด้านการจัดการความ
                  เสื่อมโทรมของที่ดิน ตามมาตรฐานและหลักวิชาการ จากการศึกษาในพื้นที่ พบว่า สาเหตุหลักของการเกิด

                  ความเสื่อมโทรมมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากพื้นที่เกษตรไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆ
                  การขยายของชุมชนเมือง การขยายเขตอุตสาหกรรม ซึ่งเปลี่ยนจากพื้นที่เกษตรไปเป็นชุมชน และพื้นที่
                  อุตสาหกรรม และอีกสาเหตุหนึ่งคือ การใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรมีการใช้ทำการเกษตร
                  แบบเข้มข้นเป็นเวลานาน ขาดการบำรุง และปรับปรุงรักษา ปัญหาทรัพยากรดินด้านการเกษตรที่สำคัญส่วน

                  ใหญ่ในจังหวัดนครนายก คือ ปัญหาดินเปรี้ยวจัด ซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำผสมกับตะกอนทะเล ส่งผลให้ดินเป็น
                  กรดจัดมากต่ำกว่า 4.5 มีความเป็นพิษของอะลูมินัม เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์ ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจน
                  และฟอสฟอรัส พื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมขัง รองลงมา คือ ปัญหาดินความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดังนั้น จึงสามารถจำแนก
                  การกำหนดมาตรการการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน แบ่งออกเป็น  ด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ด้าน

                  การจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการทรัพยากรดิน และด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76