Page 70 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          60


                                        - พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีเนื้อที่ 26,577 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 2.00 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ใน อำเภอบ้านนา อำเภอองครักษ์ และทางตอนล่างของอำเภอ

                  เมืองนครนายก และอำเภอปากพลี
                                   (3) พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC  มีเนื้อที่ 1,102,309 ไร่ หรือร้อย
                  ละ 83.11 ของเนื้อที่จังหวัด
                                    สาเหตุของปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC เกิดจากการ

                  พัฒนาประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้ความ
                  ต้องการที่ดินเพิ่มขึ้น การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร และการขยายตัวของเขตเมืองเขต
                  อุตสาหกรรมเข้าไปยังพื้นที่เกษตรกรรม การปรับเปลี่ยนแรงงานไปเป็นภาคอุตสาหกรรม แรงงานอพยพเข้าสู่
                  เมืองใหญ่ๆ ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมถูกทิ้งร้าง ส่งผลให้ที่ดินเสื่อมโทรมอันเนื่องจากขาดการวางแผนการใช้ที่ดิน

                  และการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดินได้ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อ
                  เกษตรกร จังหวัด และประเทศ รวมถึงสิ่งแวดล้อมของโลกด้วย
                            2)  ตัวชี้วัดผลผลิตขั้นปฐมภูมิ (NPP)
                            จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า NPP ของจังหวัดนครนายก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2551 และ  ปี

                  พ.ศ. 2564 โดยใช้ confusion matrix table ในการวิเคราะห์ ค่า NPP ในบางช่วงชั้นทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง และ
                  นำมาจัดระดับความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินโดยใช้ค่า NPP จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่า
                  NPP และจัดระดับความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน พบว่า การจัดการทรัพยากรที่ดินในจังหวัด

                  นครนายก พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีเนื้อที่ 1,006,558 ไร่ หรือ ร้อยละ 75.90 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                  พื้นที่ได้รับการปรับปรุง มีเนื้อที่ 52,377 ไร่ หรือ ร้อยละ 3.95 ของเนื้อที่ทั้งหมด และ พื้นที่เสื่อมโทรม มีเนื้อที่
                  248,934  ไร่ หรือ ร้อยละ 18.77 ของเนื้อที่ทั้งหมด
                            3) การสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน (Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock)
                            จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงปริมาณการกักเก็บอินทรีย์คาร์บอนในดินในแต่ละช่วงค่าปริมาณ

                  อินทรีย์คาร์บอนในดินจากปี ช่วงปี 2552 และปี 2564 เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสื่อมโทรม โดยใช้หลักการ  One-
                  out, All-out ของเกณฑ์การประเมิน LDN (Sims et al., 2017) พบว่าพื้นที่ที่เกิดความเสื่อมโทรม หรือมี
                  ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ลดลง มีเนื้อที่ 274,756 ไร่ หรือร้อยละ 20.72 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ที่ได้รับการ

                  ปรับปรุง หรือมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น มีเนื้อที่ 313,724 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 23.66
                  ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน มีเนื้อที่ 380,023 ไร่ หรือร้อย
                  ละ 28.65 ของเนื้อที่จังหวัด
                        5.1.2 การประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดิน ตามตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการ

                  ทรัพยากรที่ดิน (LDN) จังหวัดนครนายก

                           จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้
                  ที่ดิน (LUC baseline) ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงลผลผลิตขั้นปฐมภูมิ (NPP baseline) และตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง

                  คาร์บอนอินทรีย์ในดิน (SOC baseline) นำมาวิเคราะห์ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดิน (LDN baseline) ร่วมกัน

                  ภายใต้หลักการ “One-out, All-out” หากมีตัวชี้วัดใดที่แสดงผลในทางลบพื้นที่นั้นก็จะเป็นพื้นที่ที่เสื่อมโทรม  ผล
                  การวิเคราะห์  พบว่า จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมของที่ดิน มีเนื้อที่ 577,845 ไร่ หรือร้อยละ

                  43.57 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุง หรือฟื้นคืนจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน มีเนื้อที่ 247,491

                  ไร่ หรือร้อยละ 18.66 ของเนื้อที่จังหวัด และมีพื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีมีสถานะคงเดิม มีเนื้อที่
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75