Page 63 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          53


                  4.2 การประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดิน ตามตัวชี้วัดของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land
                  Degradation Neutrality : LDN) จังหวัดนครนายก

                        จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้

                  ที่ดิน (LUC baseline) ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงผลผลิตขั้นปฐมภูมิ (NPP baseline) และตัวชี้วัดการ

                  เปลี่ยนแปลงคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (SOC baseline) นำมาวิเคราะห์ตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดิน (LDN
                  baseline) ร่วมกัน ภายใต้หลักการ “One-out, All-out” หากมีตัวชี้วัดใดที่แสดงผลในทางลบพื้นที่นั้นก็จะ

                  เป็นพื้นที่ที่เสื่อมโทรม จากการวิเคราะห์ดังกล่าว แสดงผลได้ดังตารางที่ 18 และภาพที่ 18

                  ตารางที่ 18 ตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน จังหวัดนครนายก (LDN baseline 2552-2564)

                                                                                         เนื้อที่
                              สถานะความสมดุล (LDN baseline)
                                                                                    ไร่             ร้อยละ

                   พื้นที่เสื่อมโทรม (Degraded)                                       577,845          43.57

                   พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวก (Improve)                       247,491          18.66

                   พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง/คงสถานะเดิม (Stable)                    500,914          37.77

                                            รวม                                    1,326,250         100.00



                  ที่มา: จากการวิเคราะห์และประเมินด้วยระบบสารภูมิสารสนเทศ

                        จากตารางที่ 18 พบว่า จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมของที่ดิน มีเนื้อที่ 577,845 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 43.57 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุง หรือฟื้นคืนจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน มีเนื้อที่

                  247,491 ไร่ หรือร้อยละ 18.66 ของเนื้อที่จังหวัด และมีพื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีสถานะคงเดิม มีเนื้อ

                  ที่ 500,914 หรือร้อยละ 37.77 ของเนื้อที่จังหวัด ทั้งนี้ในการบรรลุความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน
                  (Land Degradation Neutrality) ได้มีการนำหลักการของ LDN ผนวกเข้ากับการจัดทำตัวชี้วัดเป้าหมายการ

                  พัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2015-2030 (Sustainable Development Goals-SDG) เป้าประสงค์ที่ 15 ตัวชี้วัดที่

                  15.3.1 ซึ่งกำหนดว่า “สัดส่วนของพื้นที่ดินที่ได้รับความเสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด” ดังนั้น สถานะความ
                  เสื่อมโทรมของที่ดิน (LDN baseline) จังหวัดนครนายก ณ ปีฐาน (2552-2564) มีสัดส่วนพื้นที่เสื่อมโทรมอยู่ร้อยละ

                  43.57 ของเนื้อที่จังหวัด
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68