Page 69 - รายงานโครงการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน(Land Degradation Neutrality: LDN) เพื่อกำหนดมาตรการ การจัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


                                                                                                          59


                                                            บทที่ 5
                                                     สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                  5.1 สรุปผล

                         การจัดทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน เพื่อกำหนดมาตรการการ

                  จัดการดินเสื่อมโทรมในระดับพื้นที่ กรณีศึกษา: พื้นที่จังหวัดนครนายก เป็นการประเมินตัวชี้วัดความสมดุลของ
                  จัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) ในระดับพื้นที่ เพื่อประเมินตัวชี้วัดตามกรอบของ UNCCD (progress
                  indicators) ในระดับพื้นที่ ได้แก่ (1) ผลิตภาพของที่ดิน (land productivity: LUP) (2) การกักเก็บคาร์บอน
                  อินทรีย์ในดิน (Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock) (3) พืชปกคลุมดินและการเปลี่ยนแปลงพืชปกคลุม

                  ดิน (Land cover / land use change: LUC) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล LDN ในระดับพื้นที่ สำหรับ
                  จัดทำแนวทางการจัดการด้านความสมดุลของการใช้ที่ดิน และกำหนดมาตรการการจัดการดินเสื่อมโทรมที่
                  เหมาะสมในระดับพื้นที่ ของประเทศไทย สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการรายงานตัวชี้วัดเป้าหมายการ

                  พัฒนาที่ยั่งยืน และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ผลการศึกษาสรุป
                  ได้ดังนี้
                      5.1.1 ฐานข้อมูลตัวชี้วัดความสมดุลของจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN)
                            1)  ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน (land cover / land use change:
                  LUC)

                            มาตรฐานตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน (land cover / land use change:
                  LUC) ของความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) แบ่งเป็น 3 พื้นที่
                  ประกอบด้วย 1) พื้นที่เสื่อมโทรม (degraded) เป็นพื้นที่ที่มีความเสื่อมโทรมของที่ดินที่เกิดขึ้นจากการ

                  เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน 2) พื้นที่ได้รับการปรับปรุง (improved) เป็นพื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุง
                  ที่ดินให้ดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน 3) พื้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (stable) เป็นพื้นที่ที่
                  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของที่ดินจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน ซึ่งจากการวิเคราะห์การ
                  เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC จังหวัดนครนายก ระหว่าง ในปี พ.ศ. 2551 และปี พ.ศ.

                  2564 มาตราส่วน 1 : 25,000 สามารถจำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และระดับตัวชี้วัดของการ
                  เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC ของความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN)
                  สามารถสรุปได้ดังนี้
                                   (1) พื้นที่เสื่อมโทรมตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC มีเนื้อที่ 153,321 ไร่ หรือ ร้อยละ 11.56

                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยพื้นที่เสื่อมโทรมส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
                                        - พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ 56,060 ไร่ หรือร้อยละ 4.23 ของ
                  เนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และทางตอนล่างของอำเภอเมืองนครนายก
                  และอำเภอปากพลี

                                        - พื้นที่เกษตรกรรมเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มีเนื้อที่ 39,913 ไร่
                  หรือร้อยละ 3..01 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอเมืองนครนายก และอำเภอบ้านนา
                                        - พื้นที่ทุ่งหญ้าไม้ละเมาะเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่น้ำ มีเนื้อที่ 12,774 ไร่ หรือร้อยละ 0.96

                  ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในอำเภอองครักษ์ อำเภอบ้านนา และอำเภอเมืองนครนายก
                                   (2) พื้นที่ได้รับการปรับปรุงตามมาตรฐานตัวชี้วัด LUC มีเนื้อที่ 70,620 ไร่ หรือร้อยละ 5.33
                  ของเนื้อที่จังหวัด โดยพื้นที่ได้รับการปรับปรุงส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74