Page 9 - คู่มือการจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN) ระดับพื้นที่
P. 9
3
และคณะท างานจัดท ามาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดิน ด้านการเปลี่ยนแปลง
สภาพการใช้ที่ดิน (Land Use Change: LUC) ด้านการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดิน (Land Productivity: LP)
และจัดท ามาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของที่ดิน ด้านการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน
(Soil Organic Carbon Stock: SOC Stock)
4. ประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้กลไกของคณะท างานฯ เพื่อน าเสนอแนวทางการด าเนินงาน
ของโครงการฯ ต่อหน่วยงาน นักวิชาการ เกษตรกรที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ที่ดิน และความเสื่อม
โทรมของดินและที่ดิน รวมถึงการรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อน ามาปรับปรุงและจัดท าแนวทางการ
ด าเนินงานแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงาน นักวิชาการ และเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน
5. จัดท าตัวชี้วัดความเสื่อมโทรมของดินด้วยแนวคิด LDN โดยประเมินจากข้อมูลการ
เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน และการ
เปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดิน จะน ามาใช้เป็นตัวชี้วัด เพื่อประเมินความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่
โดยข้อมูลที่น ามาใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เก็บใน
ภาคสนาม และข้อมูลจากการส ารวจระยะไกล (remote sensing data) โดยใช้เทคนิคการประมวลผลข้อมูล
ทางด้านระบบสาระสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่
เป้าหมาย ตามแนวทางของ UNCCD แนวคิดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรดิน LDN ประกอบด้วย
วิธีการ ดังนี้
5.1 รวบรวมฐานข้อมูล แผนที่ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายและน าเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย รายงานการส ารวจดินเพื่อการเกษตร และแผนที่กลุ่มชุดดิน
ชุดดิน รายงาน และข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน ข้อมูลคุณสมบัติของดิน จากโครงการ 1 หมู่บ้าน
1 ตัวอย่างดิน ข้อมูลการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (Net Primary Productivity: NPP)
5.2 การเก็บข้อมูลภาคสนาม ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวอย่างดิน
ตามสมบัติดินและประเภทการใช้ที่ดิน ส าหรับการวิเคราะห์ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์ในดิน
ข้อมูลด้านการจัดการดิน มาตรการการปรับปรุงดินที่มีปัญหา และผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่เป้าหมาย
5.3 การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
ในพื้นที่เป้าหมาย โดยเปรียบเทียบและจัดท าแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เพื่อประเมินตัวชี้วัดการใช้ที่ดิน
หรือสิ่งปกคลุมดิน (LUC baseline) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน
โดยประเมินจากการผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (Net Primary Productivity : NPP) เพื่อประเมินตัวชี้วัด
ความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน (NPP baseline) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน
เพื่อจัดท าตัวชี้วัดปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (SOC baseline) โดยประเมินจากฐานข้อมูลคุณสมบัติของดิน
จากโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ตัวอย่างดิน และค่าวิเคราะห์ดินจากการเก็บตัวอย่างดินตามประเภทการใช้ที่ดิน
ซึ่งการประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด จะใช้วิธีการวิเคราะห์ตามหลักการ One-out, All-out ของ LDN
5.4 การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความเสื่อมโทรมของที่ดิน จากตัวชี้วัด LDN
ทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยการน าข้อมูลแผนที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (LUC baseline) แผนที่การ
เปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้ผลผลิตของที่ดิน (NPP baseline) และ แผนที่การเปลี่ยนแปลงปริมาณ
คาร์บอนอินทรีย์สะสมในดิน (SOC baseline) วิเคราะห์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ก าหนด
เงื่อนไขตามหลักการ One-out, All-out ของ LDN ดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 : ถ้ามีอย่างน้อยหนึ่งตัวชี้วัดมีการเปลี่ยนแปลงในทางเพิ่มขึ้น
(+) จัดเป็น พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงในทางบวก (improved)